ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการหลายรายอยู่ระหว่างการรวบรวมกลุ่มแสดงจุดยืนคัดค้านกรณี ที่พรรคการเมืองจะนำนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดมาหาเสียง เลือกตั้ง เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอีประเทศ ไทยที่มีอยู่ 2.8 ล้านรายและกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวสูงตามด้วย เบื้องต้นหากพรรคการเมืองใดหาเสียงในลักษณะนี้ควรจัดสรรงบประมาณเอง แต่หากใช้เงินของภาคเอกชนดำเนินการ 100% เหมือนกับกรณีการปรับค่าจ้างวันละ 300 บาททั่วประเทศผู้ประกอบการและนายจ้างจำเป็นต้องมีการประท้วงแน่นอน “ตอนนี้ภาคเอกชนเป็นห่วงว่าจะมีนักการเมืองบางกลุ่มอาจนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำก้าวกระโดดเป็น 400-500 บาทต่อวันมาหาเสียงเพื่อหวังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หากเป็นแบบนี้จริงรับว่าภาคธุรกิจของไทยช็อคแน่นอน และหากเป็นแบบนี้จริงๆ กลุ่มผู้ประกอบการต้องทำอะไรสักอย่าง เช่น เดินขบวนประท้วงนักการเมือง หรือ การรวมกลุ่มในการคัดค้านในรูปแบบต่างๆ” สำหรับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นภาคเอกชนต้องการให้เป็นไปตามกลไกคณะกรรมการไตรภาคี เพราะจะมีการพิจารณาในการขึ้นค่าจ้างแบบสมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับของทุกๆฝ่าย นายธนวรรธน์ พลวิชัยผู้ อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองต้องให้ความสำคัญในการออกนโยบายที่ เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศระยะยาว และไม่ควรเน้นประชาชนนิยมมากเกินไปเพราะไม่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของ เศรษฐกิจประเทศและที่สำคัญจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก นอกจากนี้พรรคการเมืองควรรอบคอบในการออกนโยบายสำคัญๆ 3 นโยบาย ประกอบด้วย 1 การช่วยเหลือเรื่องข้าวโดยการอุดหนุนราคาที่สูงกว่าตลาดโลกมากๆ , การขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดด และ การบิดเบือนราคาพลังงาน เพราะ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการคลังและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของช่วยเหลือชาวนารัฐควรหามาตรการอื่นในการช่วยเหลือโดยตรง เช่นการช่วยค่าปุ๋ย การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และการลดต้นทุนอื่นๆ ขณะที่ราคาพลังงานควรทยอยปรับขึ้นราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะหากบิดเบือนนานๆสุดท้ายรัฐบาลก็ประสบปัญหาด้านการคลังแล้วมาปรับขึ้น ทันทีก็จะทำให้เศรษฐกิจภาพรวมและการบริโภคของประชาชนจะหยุดชะงักทัน ส่วนนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเชื่อว่าค่าจ้างทั่วประเทศที่อยู่ ในระดับ 300 บาทต่อวันน่าจะคงที 1-2 ปี ส่วนในพื้นที่กทม.และจังหวัดที่มีค่าครองชีพสูงอาจทะยอยปรับขึ้นค่าจ้างได้ ตามกลไกของคณะกรรมการไตรภาคีได้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักธุรกิจขู่ต้านพรรคหาเสียงขึ้นค่าแรง

Posts related