วันนี้ (22 พค.) ที่ตึกวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ชวเดช อาจารย์และนักวิจัยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการคัดแยกแบคทีเรียสามสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยเซลลูโลสเป็นน้ำตาลจากปลวกป่าที่นำมาจากสวนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐมและได้มีการนำสายพันธุ์แบคทีเรียที่คัดแยกได้ไปทดลองย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ทั้งชานอ้อย ซังข้าวโพด กากมันสำปะหลังและฟางข้าว พบว่าสามารถย่อยเซลลูโลสได้สูงถึง 70 % ภายในเวลา 12 ชั่วโมงศาสตราจารย์ ดร. สุเมธ กล่าวว่า เนื่องจากแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ค้นพบอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และไม่สะดวกในการเพาะเลี้ยง ล่าสุด ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จอีกขั้นในการโคลนนิ่งอีโคไลซึ่งเป็นแบคทีเรียในลำไส้มนุษย์ และนำยีนเด่นของแบคทีเรียจากปลวกป่าที่คัดเลือกไว้มาใส่ในแบคทีเรียอีโคไลทำให้อีโคไลที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมมีความปลอดภัยมากขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลสมากกว่าเดิมอีก 18 เท่า และง่ายต่อการเพาะเลี้ยงขยายจำนวนทั้งนี้ปัจจุบันงานวิจัยอยู่ระหว่างการทำโคลนนิ่งแบคทีเรียอีกหลายตัวเพื่อให้สามารถผลิตน้ำย่อยเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสจนครบทุกตัว ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้งานจริงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เป็นน้ำตาล ก่อนนำไปผลิตเป็นเอทานอลด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันโครงการนี้หากประสบผลสำเร็จ นอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีในการผลิตเอทานอลแล้วยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของไทยและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิจัยจุฬาเจ๋งโคลนนิ่งแบคทีเรียจากปลวกป่าช่วยย่อยเซลลูโลส

Posts related