วันนี้(21พ.ย.)ที่โรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เปิดเผยว่า บก.ปอศ.ได้ดำเนินปราบปรามการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ในรอบ 10 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค – ต.ค. 56 สามารถจับดำเนินคดีแล้วจำนวน 247 คดี ซึ่งมีอัตราสูงกว่าปี 2555 ถึง 54% ที่จับดำเนินคดีจำนวน 160 คดี ก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายถึง 510.85 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดคือ อุตสาหกรรมวิศวกรรมและการก่อสร้าง รองลงมาคือ อุตสาหกรรมโรงงานผลิต อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมบริษัทรับเหมาช่วงต่อ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมตัวแทนจำหน่ายและธุรกิจค้าส่งตามลำดับ ในขณะเดียวกันในปี 2554 ประเทศไทยถูกจัดลำดับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในอันดับ 7 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 72% ทำให้ในปี 2557 บก.ปอศ.ตั้งเป้าให้เจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมออกตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ ในอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการเลิกใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อให้ประเทศไทยถูกปลดล็อก ออกจากประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ หรือ PWL จากประเทศสหรัฐอเมาริกาที่ได้ต่อต้านและควบคุมการนำเข้าสินค้าของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และเพื่อให้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC) แสดงในสมาชิกเห็นว่าประเทศไทยมีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้า เพื่อนำไปสู่การออกนวัตกรรมใหม่ๆในยุคดิจิทัลต่อไป” ที่ผ่านมาบก.ปอศ.ได้พยามออกตรวจอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้การจับการละเมิดซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของผู้ที่เสียหายต้องดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษเข้ามาจึงจะสามารถนำไปสู่การจับดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ผู้ใดที่กระทำความผิดละเมิดลิขสิทธิ์จะได้รับโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ “พ.ต.อ.ชัยณรงค์ กล่าว

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “ปอศ.”เผยผู้ประกอบการไทย ละเมิดซอฟต์แวร์สูง 247 คดี

Posts related