น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ประเทศไทยช่วงนี้ถือเป็นช่วงหน้าร้อน โดยในช่วงหน้าหนาวที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอากาศหนาวติดต่อกันระยะยาว จึงทำให้เป็นที่มาของอากาศแล้ง ทั้งนี้ เมื่ออากาศร้อนติดต่อกัน ภาคเหนือเกิดลูกเห็บขึ้นที่จังหวัดเลย  บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 200 หลังคาเรือนโดยสาเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากลมอากาศร้อนชื่นของภาคตะวันออกเฉียงใต้มาเจอกับมวลอากาศเย็นจากจีน เมื่อเกิดลูกเห็บ จะเกิดอากาศแปรปรวน ลมฟ้าคะนอง ฝนตกระยะสั้นไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีลมพายุ และพัดป้ายโฆษณาต่างๆล้มได้ จึงอยากให้ระมัดระวังอย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างที่พระอาทิตย์ตั้งฉากกับบ้านเราพอดี ทำให้ทุกพื้นที่เกิดปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ไม่มีน้ำใช้ ยกเว้นพื้นที่กรมชลประทานที่มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ ถือว่าบริหารจัดการได้ จึงอยากให้ประชาชนปลูกพืชผลทางการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งพื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับผลกระทบหมด โดยส่วนของอากาศแปรปรวน ควรงดใช้เครื่องมือสื่อสารด้วย“ขณะนี้ เมื่อผ่านอากาศหนาวมาเจอกับมวลความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ลักษณะดังกล่าวทำให้มีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยบ้านเราจะร้อนนานถึงเดือนพ.ค. มีฝนฟ้าแปรปรวน อยากให้ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังพายุฤดูร้อน”  ทั้งนี้ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่เดือนต.ค.56 จนถึงปัจจุบัน มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน หรือ ภัยแล้ง 27 จังหวัด 145 อำเภอ 861 ตำบล 7,545 หมู่บ้าน ภาคเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร และแม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และ หนองบัวลำภู ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี สระบุรี และชัยนาท ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี และปราจีนบุรี ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง สตูล กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศูนย์เตือนภัยฯ ระบุอากาศแปรปรวนร้อนยาวถึงพ.ค.

Posts related