นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมในไตรมาสที่ 3 ของปี 56 ว่า สถานการณ์การจ้างงานในไตรมาสที่ 3 นี้ ลดลง 1.2% โดยลดลงทั้งด้านภาคเกษตรและนอกภาคการเกษตร ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 0.77% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้เกิดการว่างงานทั้งผู้ที่เคยทำงานมาก่อน และผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งจำเป็นต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่มีผลต่อบรรยากาศการลงทุน ที่อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการขยายตำแหน่งงาน นอกจากนี้ยังต้องติดตามการขาดแคลนแรงงานระดับล่างในสาขาก่อสร้าง แม้ว่าขณะนี้ได้ทำข้อตกลงเพื่อนำเข้าแรงงานต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้านมาทำงาน แต่กระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 2 เดือน รวมถึงเงื่อนไขการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติระหว่างพื้นที่ ที่ต้องจดทะเบียนใหม่และมีค่าใช้จ่ายทำให้เป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นข้อจำกัดและทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับล่างยังมีต่อเนื่องและเป็นปัญหามากขึ้น ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการทั้งการวางแผนล่วงหน้าในการนำเข้าแรงงานต่างชาติและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีแทนการใช้แรงงาน นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการ สศช.กล่าวว่า สศช.ยังได้จัดทำเรื่องเด่นประจำฉบับเรื่องผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง: การปรับตัวต่อภาวะค่าครองชีพ ซึ่งพบว่าในเดือนต.ค.ผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองมากกว่า 3 ใน 4 ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้และรายจ่าย ขณะที่เกือบครึ่งหนึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และพบว่า 3 ใน 5 ของประชากรตัวอย่างมีหนี้สิน โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 149,229 บาท และยังมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ลี่ย 31.32%ต่อปี และเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงิน 65% ขณะที่เป็นการกู้นอกระบบ 17% นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนการกู้เงินนอกระบบหรือจากเพื่อนหรือญาติในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้มีรายได้น้อยในภูมิภาค ซึ่งมีความได้เปรียบจากการมีที่อยู่อาศัยหรือที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ าประกัน และด้วยข้อจำกัดด้านหลักทรัพย์นี้ทำให้ผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ ต้องเสียอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่สูงกว่าเท่ากับ 59.45% ต่อปี ขณะที่ในภูมิภาคจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเฉลี่ย 27.76% ต่อปี ขณะที่ด้านการทำงานและด้านสังคม พบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งได้รับผลกระทบด้านการทำงาน และส่งผลทำให้ต้องออกจากงาน 6.3% รวมถึงมีความเครียดเพิ่มขึ้น ขณะที่ 1ใน 5 เห็นว่าผลกระทบจากค่าครองชีพทำให้มีปัญหาอาชญากรรมในชุมชนมากขึ้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศช.รับเศรษฐกิจไม่ดีอัตราว่างงานเพิ่ม

Posts related