นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของประชาชนว่า  พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตในปี 57 เฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน หรือ วงเงิน 6,534.99 บาทต่อเดือนต่อราย ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อนๆมาก เนื่องจากประชาชนให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ลดลง รวมถึงมีหนี้ในบัตรวงเงินสูงกว่าปีก่อน และบางรายวงเงินในบัตรเต็มแล้ว จนเกิดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดลง ส่งผลให้ประชาชนที่เป็นหนี้จำนวน 87% ใช้วิธีชำระหนี้บางส่วนไปก่อนหรือบางรายไม่ชำระหนี้เลย  “ในช่วง 3-6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า 87% ที่มีการชำระหนี้บางส่วนและไม่ชำระเลย แบ่งเป็น ประชาชน 28% มีการชำระหนี้เพียง  5% ของหนี้ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน, ประชาชน 47.7% มีการชำระหนี้ 10-20%  และประชาชน 11.3%  ไม่จ่ายหนี้เลย ซึ่งในส่วนที่เบี้ยวหนี้หรือไม่จ่ายเลยก็จะคิดเป็น 2 ล้านบัญชี จากทั้งหมดที่มีบัญชีเกือบ 20 ล้านใบ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ เพราะหาเงินไม่ทัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่บัตรเต็มวงเงินส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการกู้เงินนอกระบบมาใช้จ่ายหรือจ่ายหนี้บางส่วนแทน เพราะไม่สามารถที่จะเบิกเงินไปโป๊ะหนี้อีกใบหนึ่ง” ทั้งนี้หากแยกเป็นหนี้คงค้างชำระบัตรเครดิตแยกอาชีพ แบ่งเป็น กลุ่มรับราชการค้างชำระ 76.4% และไม่ค้างชำระ 23.6%, กลุ่มพนักงานเอกชน ค้างชำระ 78.9% และไม่ค้างชำระ21.1% , กลุ่มรับจ้างค้างชำระ 88.4% และไม่ค้างชำระ 11.6%, นักศึกษา ค้างชำระ 86.3% และไม่ค้าง 13.7% และ กลุ่มเจ้าของกิจการ ค้างชำระ 70.1% และไม่ค้าง 29.9%  โดยกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือกลุ่มรับจ้างซึ่งจะมีปัญหาการหาเงินมาหมุนไม่ทัน ขณะที่กลุ่มนักศึกษาจะเป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายเกินตัวโดยอ้างว่าผู้ปกครองให้เงินมาน้อย แต่กลุ่มนักศึกษาไม่น่าห่วงเท่ากับกลุ่มรับจ้างเพราะผู้ปกครองจะเข้ามาช่วยในการจ่ายหนี้ สำหรับการเปรียบเทียบรายได้และยอดค้างชำระบัตรเครดิตพบว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่จะมียอดค้างชำระเฉลี่ย 30,000 -40,000 บาท, กลุ่มที่มีรายได้ 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่จะมีหนี้ค้างชำระต่ำกว่า 10,000 บาท, กลุ่มที่มีรายได้ 20,000-30,000 บาท ส่วนใหญ่จะมีหนี้ค้างชำระ 10,000-20,000 บาท และกลุ่มที่มีรายได้ 90,001 บาทขึ้นไปส่วนใหญ่จะมีหนี้ค้างชำระ40,001-50,000 บา

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หอการค้าฯ เผยหนี้ท่วมบัตรเครดิต2ล้านใบ

Posts related