เชื่อว่าคุณผู้อ่านคอลัมน์วันพุธของผมหลายคนคงเคยผ่านหูผ่านตามาบ้าง ว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วมีแนวโน้มที่จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งก็ต้องขอบคุณวิทยาการการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าทำให้หลาย ๆ โรคที่คร่าชีวิตผู้คนสมัยก่อนไปเป็นจำนวนมากกลายเป็นอดีตไป แต่อีกส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าเป็นเพราะความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศที่ทำให้ผู้คนยุคใหม่สามารถค้นหาความรู้ในการดูแลตัวเอง วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง หรือแม้แต่การปฐมพยาบาลรักษาตัวเบื้องต้นได้โดยง่าย แต่อย่างไรเสียผู้สูงอายุก็ยังควรจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนรอบตัวอยู่ดีนะครับ เพราะร่างกายของท่านเหล่านั้นไม่แข็งแรงเหมือนสมัยหนุ่มสาว ไม่นับโรคผู้สูงอายุ    อีกหลายโรคที่จำเป็นต้องมีคนคอยช่วยระมัดระวัง แต่บรรดาลูก ๆ หลาน ๆ สมัยนี้ก็มักไปมีงานประจำทำกันนอกบ้านแทน ทำให้ผู้สูงอายุที่อยู่บ้านไม่ค่อยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเท่าที่ควรนัก วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับ  หุ่นยนต์ชนิดหนึ่งที่จะมาช่วยเป็นหูเป็นตาสอดส่องและดูแลผู้สูงอายุที่บ้านแทนลูก ๆ หลาน ๆ ที่ไปทำงานอยู่ข้างนอกให้ครับ ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้น ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านน่าจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับหุ่นยนต์กันมาบ้างใช่ไหมครับ หุ่นยนต์เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีหน้าที่แค่เป็นของเล่นหรือของโชว์ในงานแสดงแล้ว แต่เข้ามาทำงานทด แทนมนุษย์เราได้ในหลาย ๆ งาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านอุตสาหกรรมการผลิต การแพทย์ การกู้ภัยในจุดเสี่ยงอันตราย หรือแม้แต่ในครัวเรือนของพวกเราเองก็ตามเพื่อให้หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานอะไร ๆ ทดแทนมนุษย์หรือทำได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ก็เลยมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid Robot) ขึ้นมา แน่นอนครับ หุ่นตัวที่ดังที่สุดตัวหนึ่ง ในศตวรรษที่ 21 คงจะหนีไม่พ้นเจ้าอาซิโม (Asimo) ของบริษัทฮอนด้าของญี่ปุ่น ที่เริ่มพัฒนาในปี ค.ศ. 2000 จังหวะตรงกับที่พวกเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ที่ 21 พอดีผมเคยเห็นเจ้าอาซิโมตัวเป็น ๆ ครั้ง   แรกตอนผมทำงานที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งชาติของรัฐบาลญี่ปุ่น      (Miraikan) ที่กรุงโตเกียว โดยเจ้าอาซิโมนั้นอยู่ในแผนกวิจัยของพิพิธภัณฑ์ ใกล้ ๆ กันกับห้องที่ผมทำงานอยู่สมัยนั้น วันไหนมีแขกคนสำคัญ ๆ มาเยือนประเทศญี่ปุ่นที เขาก็จะนำเจ้าอาซิโมออกมาโชว์เตะบอลที แม้แต่ตอนที่ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา มาเยือนญี่ปุ่นในปีนี้ ก็ยังได้มาลองเตะบอลสู้กับเจ้าอาซิโมนี้ด้วย สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับประธานาธิบดีสหรัฐได้ไม่เบาเมื่อก่อนนี้ถ้าพูดถึงหุ่นยนต์ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านหลาย ๆ คนคงนึกถึงเจ้าอาซิโม หรือไม่ก็หุ่นยนต์ล้ำ ๆ อะไรสักตัวที่มาจากฝั่งญี่ปุ่นไม่ก็ฝั่งอเมริกา หรือไม่งั้นก็เป็นบรรดาหุ่นยนต์ในภาพยนตร์ฮอลลีวูดไปเลย แต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่าตอนนี้ประเทศไทยเองก็มีหุ่นยนต์ที่ได้ไปเปิดตัวถึงประเทศญี่ปุ่น   กับเค้าเหมือนกันนะครับ หุ่นยนต์ที่ว่านี้ผลิต   และออกแบบโดยคนไทยเองภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เพื่อให้มาทำหน้าที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว โดยใช้ชื่อหุ่นยนต์ตัวนี้ว่า “ดินสอมินิ”เจ้าดินสอมินินี้เป็นหุ่นยนต์ตั้งโต๊ะขนาดเล็ก โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ในส่วนศีรษะ เช่น ส่ายหัวไปมา แม้อาจไม่เทียบเท่าหุ่นฮิวแมนนอยด์แต่ก็ถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างภายนอกคล้ายเด็กประถม โดยถูกออกแบบมาให้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเองได้ โดยภายในเจ้าดิน สอมินิจะมีกล้องที่คอยแยกแยะภาพที่เห็นว่าเป็นมนุษย์หรือเป็นวัตถุอื่น ๆ แล้ว ก็ด้วยกล้องนี้ล่ะครับที่ทำให้เจ้าดินสอมินิสามารถมองเห็นผู้สูงอายุและส่ายหน้าไปมาคอยจับตาดูอากัปกิริยาต่าง ๆ ของท่านเหล่านั้นเก็บไว้เป็นประวัติสุขภาพสำหรับรายงานแก่แพทย์หรือครอบครัวได้ ซึ่งเจ้าดินสอ    มินินี้ก็ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียง จ่าเฉยยืนเฝ้าผู้สูงอายุเพียงอย่าง     เดียวนะครับ แต่ยังรองรับการสื่อสาร  แบบอัตโนมัติผ่านวิดีโอคอล และมีระบบสันทนาการเต็มรูปแบบในตัวทั้งการดูภาพยนตร์ ฟังเพลง รายการโทรทัศน์ ฟังธรรม ซึ่งน่าจะเหมาะกับการเป็นเพื่อนคลายเหงาของเหล่าผู้สูงอายุได้ดีไม่แพ้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์เลยทีเดียวเทียบกับเจ้าอาซิโมหรือหุ่นยนต์ดัง ๆ ของต่างประเทศแล้ว หุ่นยนต์ดินสอนี้อาจเป็นแค่หนึ่งก้าวเล็ก ๆ ของวงการหุ่นยนต์ แต่ผมเชื่อนะครับว่าก้าวเล็ก ๆ ทีละก้าวสองก้าวนี้ล่ะที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวที่ใหญ่กว่าในอนาคต ถ้าเราปฏิเสธก้าวเล็ก ๆ นี้เพียงเพราะคิดว่าถึงก้าวไปก็แพ้คนอื่นอยู่ดี สุดท้ายเราก็จะไม่ได้เริ่มก้าวเดินสักทีและในโลกที่เทคโนโลยีหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ นี้ โลกที่ความรู้    ใหม่ ๆ หมุนอย่างมีพลวัตอยู่ตลอดเวลานี้ โลกที่แต่ละประเทศแข่งกันคิดนวัตกรรมสุดยอดขึ้นมาเป็นของตัวเองอยู่ทุกวันนี้ การที่เราไม่ก้าวไปข้างหน้าก็ไม่ต่างอะไรกับการก้าวถอยหลังตกรถไฟความเร็วสูงสายโลกาภิวัตน์นี้นั่นเอง คราวนี้ก็อยู่ที่คนไทยเราเองแล้วแหละครับที่พร้อมจะลุกขึ้นมาคิดใหม่ทำใหม่ ลองก้าวเดินไปทีละก้าว แต่ละคนอาจจะเริ่มจากก้าวเล็ก ๆ เพื่อให้พร้อมสู่การสรรสร้างก้าวใหญ่ ๆ ร่วมกันในอนาคตได้ ในที่สุด. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวชหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตchutisant.k@rsu.ac.th 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หุ่น ( ยนต์ ) ไทยสู่สนามญี่ปุ่น – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Posts related