น.ส.จุฬารัตน์สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ  เปิดเผยว่า  บริษัท สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือเอสแอนด์พี ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวไว้ที่บีบีบีบวกและระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศที่ระดับ เอลบ 2 และอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวที่ระดับเอลบและระยะสั้นสกุลเงินบาทไว้ที่เอลบ 2   และคงแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ระดับมีเสถียรภาพหรือสเตเบิล เอาท์ลุ๊ค  นอกจากนี้ได้ยืนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในอาเซียนรีจินัล สเคล ระยะยาวที่  axAA และระยะสั้นที่axA-1 และการประเมินการเคลื่อนย้ายและความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับเอ   “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ระดับเสถียรภาพสะท้อนว่า  ประเทศไทยจะรักษาความแข็งแกร่งของภาคต่างประเทศภาคการคลัง  และภาคการเงินภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในปัจจุบันไว้ได้ใน2ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี  อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยถ้าความสามารถในการปกครองประเทศ (เสถียรภาพทางด้านการเมืองและสถาบัน)  ถดถอยลงไปมากกว่าที่เอสแอนด์พี สังเกตการณ์ไว้ในช่วง7 ปีที่ผ่านมา  หรือหากตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจหรือการคลังอ่อนแอลง  ยกเว้นผู้นำทางการเมืองของไทยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองที่ดีขื้นเชื่อว่า  การเติบโตของเศรษฐกิจไทยดีขึ้นและส่งผลให้สถานะความน่าเชื่อถือของประเทศแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเช่นกัน”   ทั้งนี้เห็นว่าหนี้รัฐบาลอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยแม้ว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองมีอย่างต่อเนื่องและเศรษฐกิจมีรายได้ต่ำ เป็นข้อจำกัดต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ แต่ไทยมีจุดแข็งคือ  สถานการณ์ลงทุนระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง  ส่วนสภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศยังเพียงพอ    นอกจากนี้การเกินดุลการชำระเงินเป็นเวลานานทำให้มีทุนสำรองสำหรับรองรับดุลบัญชีเดินสะพัดได้7.5เดือน  ถึงแม้ว่าไทยจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อยในช่วง2 – 3 ปีข้างหน้า แต่สามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยอาศัยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินทุนที่ไหลเข้ามาในตลาดทุนทำให้หนี้ต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม  ส่วนภาระหนี้ต่างประเทศสุทธิอยู่ในระดับปานกลางที่26% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งสัดส่วน 70%  มาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนในหลักทรัพย์   ประกอบกับไทยอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สุทธิในสัดส่วนมากกว่า20% ของรายรับบัญชีเดินสะพัด   สำหรับการเกินดุลขั้นต้นของรัฐบาลช่วยรักษาระดับหนี้ของรัฐบาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  ขณะที่การดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่เป็นผลจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดทางเศรษฐกิจทำให้หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น นั้นเอสแอนด์พีคาดว่า หนี้รัฐบาลสุทธิจะยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล 26% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในช่วง3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้  ภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลที่มีสัดส่วนประมาณ 7%ของรายได้รัฐบาลก่อให้เกิดภาระเพียงเล็กน้อยต่อฐานะการคลัง  ด้านเงินเฟ้อที่มีเสถียรภาพจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย  คาดว่าเงินเฟ้อของประเทศเฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 3% ในช่วง  15 ปี ที่ผ่านมา   อย่างไรก็ตาม  เสถียรภาพทางด้านราคาและการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวช่วยรักษาความสามารถทางการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศ การเติบโตของสินเชื่ออยู่ในระดับปานกลาง  โดยสินเชื่อภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 130% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี56จาก 102% ในปี  52  รวมทั้งประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวของไทยในปี56 ไว้ที่  6,200 ดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนการศึกษาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า                    “ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นจุดอ่อนหลักของความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้งตั้งแต่ปี 49  ทำให้การปฏิรูปโครงสร้างต้องล่าช้าออกไป  รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ความไม่แน่นอนดังกล่าวเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะที่การชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศ”             ทั้งนี้ได้ประเมินความสามารถและความตั้งใจในการชำระหนี้สกุลเงินบาทของประเทศไทยสูงกว่าสกุลเงินตราต่างประเทศ 1ระดับ ที่ระดับเอลบ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวของประเทศไทยสนับสนุนต่อความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ และความลึกของตลาดทุนในประเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงิน นอกจากนี้ ความมั่นคงของสถานะการคลังช่วยให้มีช่องทางในการตอบสนองเหตุการณ์รุนแรงที่ไม่คาดคิดได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือ        

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอสแอนด์พีคงเครดิตเรตติ้งไทย

Posts related