ช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา รายการ ไอที 24 ชั่วโมง ครอบครัวข่าว 3 และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พาผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมและสื่อมวลชนไปศึกษาเทคโนโลยีที่สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อถึงสนามบินนานาชาติอินชอน เกาหลีใต้ สิ่งที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวยุคปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ต และบริการไวไฟฟรี ซึ่งในพื้นที่ของสนามบินอินชอนก็มีบริการไวไฟฟรีด้วยเช่นกัน โดยการให้บริการไวไฟฟรีของเกาหลีใต้ ไม่ใช่เฉพาะสนามบินเท่านั้น แต่ในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็มีบริการไวไฟฟรีเช่นกัน โดยการให้บริการไวไฟฟรีถือเป็นเรื่องปกติเพราะหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้บริการเช่นกัน แม้แต่ประเทศไทย แต่ประเทศไทยจะติดตรงที่ขั้นตอนความยุ่งยากของการเชื่อมต่อและความเร็วที่ให้ใช้บริการ แต่เกาหลีสามารถล็อกอินได้โดยอัตโนมัติ เมื่อเจอสัญญาณและสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่เคยตกอยู่ในภาวะลำบากขัดสนและคุ้นเคยกับสงครามถือเป็นอดีตที่ขื่นขมมากกว่าประเทศไทย แต่วันนี้กลายเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าถือว่าล้ำหน้ากว่าประเทศไทย และปัจจุบัน            นักโทรคมนาคมไทยต้องเดินทางมาศึกษาเทคโนโลยีถึงประเทศเกาหลีทั้งนี้ รายการ ไอที 24 ชั่วโมง ได้พาไปดูเทคโนโลยี 4 จี แอลทีอี แอดวานซ์ ของ บริษัท เอสเค เทเลคอม  ถือเป็นยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมเกาหลีใต้ สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงสุด 120-150 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)เป็นความเร็วที่เหนือกว่า 4จี ปกติที่ให้บริการในหลายประเทศมากกว่า 2 เท่าตัว โดยเอสเค เทเลคอมเปิดให้บริการผ่านย่านความถี่ 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยปัจจุบันมี 3 ประเทศทั่วโลกที่ใช้งานแล้วคือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลี โดยเกาหลีเริ่มใช้ช่วงเดือน มิ.ย. 2554 ขณะที่ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ใช้งานย่าน 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เอสเค เทเลคอม ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งหมด 12 ล้านราย จากประชากรประมาณราว 50 ล้านคน ที่ใช้งานผ่านโมบาย บรอดแบนด์ สมาร์ทดีไวซ์ ในครัวเรือน เพื่อควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีภายในบ้าน อาทิ ทีวี วิทยุ อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น การควบคุมการเปิด ปิด ประตู สำหรับเทคโน โลยีเด่น ๆ ที่ เอสเคเทเล คอม นำเสนอ คือ การจำลองบ้านแห่งอนาคต ที่ใช้ 4 จี แอลทีอี แอดวานซ์ สั่งงานผ่านอุปกรณ์พกพา สามารถสั่งให้รถวิ่งไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่ต้องใช้มือควบคุมพวงมาลัย มีการสั่งซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านแอพพลิเคชั่นโมบายด้วยการวัดขนาดตัวของผู้ใช้งานออกมาเป็นแบบจำลองได้เท่าขนาดของจริง เป็นต้น สร้างความเพลิดเพลินให้กับสมาชิกในครอบครัวกับมุมต่าง ๆ ในบ้าน  1 หลัง ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประจำรองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์ (กทค.) เล่าว่า หากจะเปรียบ เอสเค เทเลคอม กับผู้ให้บริการโมบาย และบรอดแบนด์ในเมืองไทย จะเปรียบได้กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ให้บริการทั้งโมบาย และ บรอดแบนด์ สำหรับ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในเกาหลี ถ้ากลุ่มโมบายถือว่า เอสเค เทเลคอม เป็นเบอร์ 1 ในด้านโมบาย โดยให้บริการ 4 จี แอลทีอี แอดวานซ์ สำหรับแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ 4จี แอลทีอี ของประเทศไทย คาดว่า สมาคมโทรคมนาคมนานาชาติหรือไอทียู จะสรุปแนวทางภายในปีนี้ว่าจะต้องประมูลได้เมื่อไหร่ ทั้งนี้ จากการศึกษา การเปิดให้บริการ 4จี แอลทีอี ในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้ กทค.มีแนวคิดที่ไม่อยากประมูลแค่ 4จี แอลทีอี แต่จะประมูล 4 จี แอลทีอี แอดวานซ์ โดยนำคลื่น 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาเปิดประมูลพร้อมกัน เพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมประมูล “ปัจจุบันคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เอกชนถืออยู่ก็นำมาให้บริการ 4 จี ได้ ซึ่งหากเราประมูล 4 จี แอลทีอี แอดวานซ์ จะทำให้ความเร็วสูงกว่า 4จี แอลทีอี ถึง 2 เท่า และยังช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อนของผู้เข้าร่วมประมูลด้วย” ถึงแม้ว่าเกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่เคยยากจนถึงขีดสุด ๆ แต่สิ่งที่คนเกาหลีให้ความสนใจคือ การศึกษา และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ รัฐบาลให้การสนับสนุนในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างจริงจัง.  กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 4จี แอดวานซ์ โมเดลประเทศเกาหลี ดีอย่างไร!

Posts related