เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจจัดสัมมนาเรื่อง วิกฤติความเสี่ยงพลังงานกับอนาคตการพัฒนาเศรษฐกิจไทยŽ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านเข้าร่วมบรรยายให้ความรู้กับประชาชน  หนึ่งในวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิคือ ท่านศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ได้เสนอให้มีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบโดยเสนอให้ลดราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ลงอย่างน้อยลิตรละ 3 บาท และให้ปรับขึ้นราคาดีเซล โดยการขึ้นภาษีสรรพสามิตลิตรละ 3-4 บาท รวมทั้งเสนอให้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จากสื่อได้รายงานข่าวผลการสัมมนาแพร่หลายออกไปก็ปรากฏว่ามีปฏิกิริยาออกมาวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอนี้ในเชิงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเป็นสิทธิของผู้วิจารณ์ที่มีความเห็นต่างโดยสุจริตใจ แต่หนึ่งในความเห็นต่างและข้อวิพากษ์ของท่านอดีต ส.ว. ท่านหนึ่งที่แสดงเอาไว้ในเฟซบุ๊กของท่านและมีผู้ติดตามอ่าน ตลอดจนนำมาเผยแพร่ต่อ ๆ กันในโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมากนั้น ผมเห็นว่าน่าจะเป็นความเห็นต่างที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง รวมทั้งอาจเข้าข่ายว่ามี อคติŽ และอาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนได้ ผมจึงอยากทำความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้ ท่านอดีต ส.ว. ได้กล่าววิพากษ์เอาไว้ว่ากลุ่มทุน (ซึ่งท่านพยายามตีความว่ารวมถึงกลุ่มนักวิชาการที่มีความเห็นไม่ตรงกับท่านด้วย) พยายามใช้ ตรรกะบริโภคŽ เสนอลดราคาน้ำมันเบนซิน/แก๊สโซฮอล์ ลงลิตรละ 3 บาท คิดเป็นเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท/ปี แต่ไปขึ้นราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ ปีละ 66,000 ล้านบาท (คิดจากยอดขาย 60 ล้านลิตร/วัน) สรุปแล้วกองทุนฯ ยังมีกำไรเพิ่มขึ้นอีกปีละเกือบ 4 หมื่นล้านบาทเงินจำนวนนี้ทั้ง หมดก็จะไหลเข้าไปเพิ่มกำไรให้กับปตท.จึงควรเรียกกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันนี้ว่า กองทุนอำพรางระดับกำไรของปตท.Ž มากกว่า  ผมฟังแล้วต้องยกย่องว่าท่านมีความสามารถในการประดิษฐ์วาทกรรมเก่งจริง ๆ แต่ผมเสียใจที่จะต้องชี้แจงว่าสิ่งที่ท่านพูดมานั้นท่านเข้าใจผิดในสาระสำคัญโดยสิ้นเชิง (หรือท่านอาจจะแกล้งไม่เข้าใจผมก็ไม่ทราบได้) เพราะสิ่งที่ อ.พรายพล หรือผมเคยเสนอเอาไว้คือให้ขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลขึ้นไปจากปัจจุบันที่เก็บอยู่เพียง  0.005 บาท/ลิตร เป็น 3-4 บาท/ลิตรครับ ดังนั้นเงินที่เก็บเพิ่มนี้จะไปเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินครับไม่ใช่ไปเข้ากองทุนน้ำมันฯ  แต่ถึงแม้จะมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯจริงเงินนั้นก็จะไม่ได้ไปเพิ่มผลกำไรให้กับปตท.แต่อย่างใดเพราะเงินที่เข้ากองทุนน้ำมันฯ จะถูกนำไปใช้จ่ายในการอุดหนุนราคานำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงเพื่อให้ผู้บริโภคในประเทศได้ใช้ก๊าซในราคาถูกอย่างเช่นในปัจจุบัน และถ้าท่านจะมาอ้าง ว่า ปตท. เป็นผู้นำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว ปตท. ย่อมเป็นผู้ได้ประโยชน์จากเงินอุด หนุนจากกองทุนน้ำมันฯอยู่ดีผมก็อยากให้ท่านไปถามบริษัทจัดจำหน่ายก๊าซรายใหญ่อื่น ๆ ในประเทศว่าทำไมเขาไม่ไปนำเข้าก๊าซเข้ามาเองบ้าง ทั้ง ๆ ที่ไม่มี ก.ม. ห้ามแต่อย่างใด คำตอบก็จะออกมาในทำนองว่าจะไปนำเข้ามาเองให้โง่ทำไมเพราะต้องออกเงินไปก่อนในราคาแพง (ราคาตลาดโลก) แล้วมาขอคืนจากกองทุนฯ ทีหลัง (กว่าจะได้คืน บางทีต้องค้างจ่ายนานตั้ง 4-5 เดือนดอกเบี้ยก็ไม่ได้) สู้ให้ ปตท.แบกภาระนำเข้าไปก่อนตามนโยบายของรัฐบาล แล้วค่อยมาขอซื้อต่อจากปตท.ไม่ดีกว่าหรือ ถ้าท่านจะวิพากษ์อะไร ขอได้โปรดใช้วิจารณญาณหน่อยเถิดครับ ไม่อย่างนั้น แทน ที่จะเป็น ตรรกะบริโภคŽ อย่างที่ท่านตั้งใจจะกลายเป็น อคติพิจารณ์Ž ไปเสียฉิบ!!!

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ตรรกะบริโภค’ ž หรือ ‘อคติพิจารณ์ž’ – พลังงานรอบทิศ

Posts related