ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs

เอสเอ็มอี คืออะไร? 

คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง.

คงเคยได้ยิน ได้ฟังกันมาบ้างแล้ว และอาจจะสงสัย หรือว่ามึนงง ไอ้เจ้า “เอสเอ็มอี” แท้ที่จริงนั้น sme คืออะไร กันแน่ ทำไมผู้ใหญ่หลายท่าน ถึงพยายามที่จะช่วยกัน ส่งเสริมและผักดันให้มีการลงทุน ในธุรกิจ เอสเอ็มอี

คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง

สำหรับประเทศไทย ได้มีกฎหมาย ธุรกิจเอสเอ็มอี ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543  โดยตาม กฎหมายฉบับนี้นั้น ได้ให้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดว่า ใครบ้างที่จะได้ ขึ้นชื่อว่า เข้าข่ายเป็น ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งจะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวง ก่อนหน้านี้ จะใช้เกณฑ์ ในการวัดว่า ธุรกิจไหนเป็น เอสเอ็มอี ดังนี้คือ

• กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สองร้อยคน
• กิจการค้าส่ง ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน ห้าสิบคน
• กิจการค้าปลีก ที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หกสิบล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สามสิบคน

เอสเอ็มอี (SME หรือ SMEs) คืออะไร

SMEs ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ชื่อภาษาไทยคือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บางที่เรียกว่าธุรกิจกลาง-เล็ก) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1) การผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining)
2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3) การบริการ (Service Sector)

มีการจำแนกกิจการของ SMEs เอาไว้อย่างไร

เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกกิจการของ SMEs ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม คือ
1) มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร
2) จำนวนการจ้างงาน

การจำแนกประเภทของ SMEs โดยใช้มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การผลิต : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
2) การบริการ : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
3) การค้า
3.1 ค้าส่ง : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 100 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
3.2 ค้าปลีก : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 60 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 30 ล้านบาท

การจำแนกประเภทของ SMEs โดยใช้เกณฑ์จากจำนวนการจ้างงาน สามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การผลิต : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  200 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 คน
2) การบริการ : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  200 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 คน
3) การค้า
3.1 ค้าส่ง : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  50 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 25 คน
3.2 ค้าปลีก : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  30 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 15 คน

Posts related