นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงกรณีการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่อินฟาเรดเทอร์บาย เอ็นจิน หรือเรือโดยสารเฮอร์คิวลิส ที่เดินเครื่องด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ว่า การใช้เรือพลังงานแสงอาทิตย์แทนเรือรุ่นโดยสารรุ่นเก่าที่ใช้น้ำมันนั้น ถือว่ามีความน่าสนใจ เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ป้องกันการปล่อยมลภาวะ อีกทั้งราคาไม่แพงนัก แต่ทั้งนี้ การจะนำเรือพลังงานแสงอาทิตย์ มาเปิดใช้บริการเชิงพาณิชย์หรือใช้ขนส่งผู้โดยสารอย่างทางการหรือไม่นั้น ต้องทดสอบอย่างจริงจังก่อน ทั้งในเรื่องโครงสร้างวิศวกรรม วัสดุตัวเรือ ว่าแข็งแรง ทนทาน รองรับการขนส่งในแต่ละวัน ที่มีผู้โดยสารใช้จำนวนมากได้หรือไม่รวม ถึงระบบการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ว่า มีความเสถียรมากน้อยแค่ไหน หากวันไหนไม่มีแสงแดดขึ้นมานอกจากนี้ การจะใช้พาหนะโดยสารสาธารณะใหม่ จำเป็นต้องทดสอบก่อนใช้งานนานหลายเดือน กว่าจะเปิดใช้ได้จริง เหมือนอย่างกรณีรถไฟฟ้า ที่จะต้องทดสอบวิ่งบนรางถึง 6 เดือน ถึงจะเปิดใช้บริการได้ ขณะที่เรือโดยสารก็เช่นกัน ต้องยิ่งทดสอบอย่างรอบคอบกว่า เพราะมีปัจจัยกระแสน้ำในแต่ละฤดูกาล เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างฤดูมรสุ มแม่น้ำจะเชี่ยวมาก จึงต้องดูว่าสามารถเดินเรือ ในช่วงฝนตกลมแรง หรือน้ำเชี่ยว ได้หรือไม่นายจุฬา กล่าวว่า ส่วนการตัดสินใจจะเลือกซื้อเรือพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนเรือรุ่นเก่าหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของผู้ประกอบการเดินเรือ ที่จะพิจารณาว่ามีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งกรมฯไม่มีสิทธิไปบังคับให้เอกชนเลือกซื้อ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กรมเจ้าท่าสนใจเรือแสงอาทิตย์

Posts related