นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กรณีที่กระทรวงพลังงานปรับขึ้นราคาขายปลีกเอ็นจีวี 1 บาทต่อ กก. จาก 10.50 บาท เป็น 11.50 บาทต่อ กก. และแอลพีจีอีก 0.62 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 57เป็นต้นไปนั้น ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งรถบรรทุกปรับเพิ่มขึ้นทันที 5% แต่เบื้องต้นผู้ขับ ยังไม่ขึ้นค่าขนส่ง เพราะไม่ต้องการให้ผู้ใช้บริการเดือดร้อน แต่ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะต้องเพิ่มจำนวนสถานีบริการเอ็นจีวีให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเท ศภายใน สิ้นปี เนื่องจากปัญหาใหญ่ของรถบรรทุกขณะนี้ ไม่ใช่เรื่องต้นทุนขนส่งที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นเรื่องจำนวนสถานีบริการเอ็นจี ที่มีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจมาก“ผมขอเรียกร้องไปยังนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงานให้สั่งการ ไปยังปตท.ให้เพิ่มปั๊มเอ็นจีวีเพิ่มให้เพียงพอ เพราะขณะนี้มีอีก 20 จังหวัด ที่ยังไม่มีปั๊มเอ็นจีวี ทำให้รถบรรทุกที่ขนส่งต้องรอคิวเติมก๊าซนาน หากสิ้นปีนี้ ปตท.ไม่ขยายปั๊ม ก็จะขอขึ้นค่าขนส่งอีก5 นอกจากนี้ อยากให้ ปตท.ปรับปรุงคุณภาพเอ็นจีวี ให้ปราศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันมีรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่า 2 แสนคัน เป็นรถบรรทุกเอ็นจีวี 10% หรือ 2 หมื่นคัน ที่เหลืออีก 90% เป็นรถบรรทุกดีเซล”นายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ยอมรับว่าการปรับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่นี้ กระทบต่อต้นทุนการขับแท็กซี่เพียงเล็กน้อย และทำให้การขึ้นค่าโดยสาร จะปรับเฉพาะในส่วนต้นทุนค่าครองชีพ 8-11% เท่านั้น น้อยกว่าเดิมที่คาดว่า หากราคาพลังงานขึ้นมาก อาจต้องปรับถึง 20% เนื่องจากในส่วนของรถแท็กซี่ ที่ติดตั้งเอ็นจีวีที่ปัจจุบันมี 6 หมื่นกว่าคัน จะจ่ายค่าแก๊สเท่าเดิมที่ กก.ละ 8.50 บาท เพราะได้รับการชดเชยส่วนต่างราคาพลังงานจากรัฐบาล ขณะที่แท็กซี่ที่ติดตั้งแอลพีจีที่มี 1 หมื่นกว่าคัน จะได้รับผลกระทบจากค่าแก๊สเพิ่มวันละ 30 บาท ซึ่งยังพอแบกรับต้นทุน เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่าง ไรก็ตามหลัง จากนี้จะต้องหารือกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อกำหนดการขึ้นค่าโดยสารว่าจะปรับอัตราเท่าไร เวลาใด และสัดส่วนในแต่ละช่วงแค่ไหน เช่น ตามระยะทาง หรือช่วงรถติด ส่วนมาตรการที่ภาครัฐต้องการให้ปรับปรุงคุณภาพรถและบริการก่อนขึ้นค่าโดยสาร ผู้ขับก็เห็นด้วย และพร้อมปรับปรุงคุณภาพให้ เพื่อเพิ่มบริการที่ดีให้สอดคล้องกับค่าโดยสารที่สูงขึ้น แต่จะแก้ปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสารได้หรือไม่นั้น เชื่อว่าปัญหาคงบรรเทาลง แต่จะแก้ไขไม่ได้ 100% เพราะในเมืองยังไม่มีปั้มแก๊สเอ็นจีวีให้แท็กซี่เติมด้านนางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารต้องการให้ กระทรวงคมนาคมพิจาณาอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับราคาค่าโดยสารแบบลอยตัว , รวมถึงให้ลดการเก็บธรรมเนียมค่าเที่ยววิ่ง หรือค่าขา โดยผู้ประกอบการจ่ายค่าขาตามความเป็นจริงให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส.จากเดิมที่รถร่วมโดยสารทุกคันจะต้องจ่ายค่าขา 1 ที่นั่งต่อคัน ให้กับ บขส.ตามจำนวนรถที่ได้รับสัมปทานวิ่งให้บริการ เพราะปัจจุบันรถโดยสารทั้งระบบมีวิ่งให้บริการแค่ 70%ที่เหลือจอดอยู่เฉย ๆ นอกจากนี้ ยังเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาจัดตั้งกองทุนประกันภัยอุบัติเหตุรถโดยสารแบบรวม รวมถึงขอขยายอายุการใช้คลัทซี รถยนต์โดยสารที่ให้บริการในระยะทางไกลกว่า 500 กิโลเมตรขึ้นไป และเป็นรถยนต์ที่จดประกอบในประเทศจาก10 ปี เป็น 15 ปีสาเหตุที่ผู้ประกอบการต้องมายื่นข้อเสนอแนวทางความช่วยให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาอนุมัตินั้น เนื่องจากขณะนี้ผู้ประกอบการรถโดยสารต้องแบกรับภาระต้นทุนการให้บริการสูง มาก เพราะนอกจากรถยนต์โดยสารจะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการรถตู้โดยสาร ที่วิ่งให้บริการระยะทางไม่เกิน 300 กม.แล้ว ในเส้นทางเดินรถสายยาว ผู้ประกอบการยังถูก สายการบินต้นทุนต่ำ เข้ามาแย่งตลาดบริการด้วยนาย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวหลังเป็นประธานประชุมหารือเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรถ โดยสารสาธารณะว่า สมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร ได้มาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ ประกอบการรถยนต์โดยสารที่ขณะนี้ประสบปัญหาธุรกิจ ส่วนข้อเรียกร้องการลดค่าขา การตั้งกองทุนประกันภัยอุบัติเหตุรถโดยสารแบบรวม รวมถึงการปรับค่าโดยสารตามต้นทุนที่แท้จริง กระทรวงจะรับข้อเสนอมาพิจารณา แต่ได้ให้สมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารกลับไปจัดทำรายละเอียดข้อมูลก่อน กลับมาเสนอใหม่

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แท็กซี่-รถบรรทุก-รถทัวร์ จ่อขึ้นราคา

Posts related