สานต่อโครงการไมโครซอฟท์ ยูธสปาร์ค จากการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับเยาวชนไทย ต่อยอดให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ เอาไอทีช่วยธุรกิจในชุมชนนางสุภารัตน์ จูระมงคล ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมเพื่อชุมชน บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย บอกว่า ไมโครซอฟท์ได้ริเริ่มโครงการ “ยูธสปาร์ค” (YouthSpark) เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสให้กับเยาวชน 300 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2015เน้นเพิ่มศักยภาพให้กับเยาวชนด้วยการขยายการเข้าถึงการเรียนรู้และไอที สร้างผู้สร้างนวัตกรรมในอนาคตด้วยการให้แรงบันดาลใจและเครื่องมือช่วยเหลือเพื่อสร้างจินตนาการใหม่ ๆ ในการช่วยเหลือสังคม และช่วยให้เยาวชนตระหนักถึงโอกาสในการเติบโตเป็นผู้ประกอบการและเข้าถึงการจ้างงานได้มากขึ้นสำหรับประเทศไทย คุณสุภารัตน์ บอกว่าไมโครซอฟท์ร่วมกับพันธมิตรจุดประกายและเสริมสร้างศักยภาพให้กับเยาวชนไทยไปแล้วกว่า 16,000 คน มีตั้งแต่อบรมไอทีให้กับเยาวชนที่ด้อยโอกาส เพื่อให้เป็นตัวแทนไปสอนต่อในชุมชน มีการอบรมให้เยาวชนเกิดความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมของตนเอง รวมถึงมีการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีด้าน รศ.ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (CCDKM) และประธานเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APTN) หนึ่งในพันธมิตรหลักของโครงการฯ บอกว่า ได้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านไอซีทีไปยังกลุ่มที่ด้อยโอกาสผ่านศูนย์ไอซีทีชุมชนทั่วประเทศที่ปัจจุบันมีกว่า 2,000 แห่ง ทำมาแล้วเกือบ 10 ปี ยูธสปาร์คเป็นการมาต่อยอด โดยใช้ไอทีในการนำความรู้ที่ทางศูนย์มีอยู่ไปสู่ชุมชนที่ขาดโอกาส และเป็นแบบเพื่อนสอนเพื่อนซึ่งตัวอย่างความสำเร็จอย่างเช่น โครงการของ “น้องกิ๊บ” เกษราภรณ์ นามมุลตรีปัดตา เยาวชนผู้ประกอบการและผู้นำเยาวชนในชุมชนบ้านโคกเมือง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ที่เข้าร่วมโครงการ ไมโครซอฟท์ ยูธสปาร์ค และได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการไปนำเสนอแนวคิดการนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อการประกอบธุรกิจในชุมชน ที่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้น้องกิ๊บ เล่าว่า หลังจากได้รับการอบรมจากยูธสปาร์ค โดยได้รับการฝึกอบรมด้านการทำโบรชัวร์ การประชาสัมพันธ์สินค้า การทำบัญชีขั้นพื้นฐานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการสร้างเว็บหรือบล็อกด้วยเวิร์ดเพรส ได้ร่วมกับเยาวชน ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านกว่า 2,000 ครัวเรือนใน 6 ชุมชนในบุรีรัมย์ จัดตั้งเป็นกลุ่มแฮนด์ทูแฮนด์ ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน เช่น ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ ผ้าไหมลายปราสาทเมืองต่ำเครื่องจักสาน
โดยนำเสนอผ่าน http://handto handgroups.wordpress.com และ https://www.facebook.com/handto handbykhokmuangน้องกิ๊บบอกว่า หลังจากเอาไอซีทีไปใช้ทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าจากเดิมไม่เกิน 5 ออร์ดอร์ต่อเดือน เพิ่มเป็น 30 ออร์เดอร์ต่อเดือน สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้สำหรับการสานต่อโครงการในปีที่ 3 นี้ คุณสุภารัตน์ บอกว่า จะมีกิจกรรมยูธสปาร์ค # วีสปีดโค้ด ซึ่งจะให้เยาวชนมีประสบการณ์และเรียนรู้ทักษะด้านการเขียนโค้ดและผลักดันให้เกิดการตื่นตัว สนใจด้านการเขียนโปรแกรมและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มากขึ้นเพื่อรองรับการเพิ่มโอกาสในการจ้างงาน สร้างอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไทยกำลังจะเข้าสู่การสร้างเศรษฐกิจดิจิตอล.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไมโครซอฟท์ยูธสปาร์ค ปี3

Posts related