วันนี้(18พ.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)เปิดเผยว่า ที่ประชุมกสท. อนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง เพื่อนำไปเป็นแนวทางปฎิบัติให้แก่ผู้เข้าร่วมการประมูลที่ได้ยื่นเอกสารขอรับการประมูล 29 ราย 41 ซองคำขอ โดยจะแจ้งร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายใน 45 วันหลังจากการตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสาร โดยจะครบกำหนด วันที่ 13 ธ.ค.56 หลังจากนั้นภายใน 7 วันสำนักงานจะแจ้งวัน เวลา สถานที่ในการจัดการประมูลให้แก่ผู้เข้าร่วมการประมูลทุกรายทราบก่อนการประมูล โดยการประมูลจะเริ่มต้นจากช่องวาไรตี้คุณภาพคมชัดสูง ( เอชดี ) ตามด้วยวาไรตี้คุณภาพมาตรฐาน(เอสดี) ช่องข่าว และช่องเด็ก / เยาวชน/ ครอบครัว ตามลำดับ ให้ผู้เข้าร่วมประมูลส่งรายขื่อตัวแทนผู้เข้าร่วมบริษัทละไม่เกิน 5 คนในแต่ละหมวดให้สำนักงานกสทช.ล่วงหน้า 5 วันก่อนการประมูล ซึ่งเบื้องต้นคาดว่า การประมูลจะมีในช่วงกลางเดือนธ.ค.56 ถึงกลางเดือนม.ค.57 สำหรับตัวแทนที่จะเข้าร่วมการประมูลต้องรายงานตัว และให้เตรียมตัวแทน 1 คน เพื่อจับสลากกำหนดลำดับการจับสลาก หลังจากนั้นจะจับสลากเลือกซองบรรจุหมายเลขห้องประมูล และเลือกซองบรรจุ Username หรือชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบการประมูล ในขณะเดียวกันเมื่อเข้าห้องประมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้แทนที่เข้าร่วมกันประมูลจะเปลี่ยนหรือเพิ่มไม่ได้ สำหรับร่างดังกล่าวนี้ กำหนดการปฎิบัติผู้ประมูลไว้ 6 หมวด ดังนี้ 1.การเตรียมการประมูล 2.การเข้าสู่สถานที่การจัดประมูล 3.การประมูล 4.การติดต่อสื่อสารระหว่างการประมูล 5.การประกาศและรับรองผลการประมูล 6.มาตรการรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของรัฐในการประมูล และได้กำหนดหนังสือยินยอมเพื่อการรักษาข้อมูลสารสนเทศที่ต้องห้ามเปิดเผยและป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และ สิ่งของและอุปกรณ์ที่อนุญาตนำเข้าห้องประมูล “ตอนนี้ยังไม่ระบุวัน เวลา สถานที่การประมูล เพราะต้องรอกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอยื่นรับการประมูลให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา 45 วันนับจากวันที่ยื่นซองเมื่อวันที่ 28-29 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยคาดว่าการประชุมครั้งหน้าก็จะไม่สามารถประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติได้ เนื่องจากสำนักงานกสทช. ยังตรวจสอบเอกสารไม่เสร็จ ในขณะที่กสท.เองจะไม่เข้าไปยุ่งในการตรวจสอบฯ และยังไม่ได้รับรายงานว่า ใครไม่ผ่านคุณสมบัติ” พ.อ.ดร.นทีกล่าว นอกจากนี้กสท.ยังให้ใบอนุญาตสำหรับการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้่านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (เสาส่งสัญญาณ ) จำนวน 2 ราย ได้แก่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 1 ใบอนุญาต จำนวน 31 สถานีส่ง และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 1 ใบอนุญาต จำนวน 48 สถานีส่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการโครงข่ายเช่าใช้ และอนุมัติต่ออายุใบอนุญาต 2 ปี ให้แก่ช่องรายการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีจำนวน 27 ช่องรายการ ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม 3 ช่อง จีเอ็มเอ็มบี 9 ช่อง และมูลนิธิไกลกังวล 15 ช่องซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่หมดอายุในวันที่ 25 พ.ย.56 นอกจากนี้ยังอนุญาตทดลองวิทยุเพิ่มเติม 81 ใบอนุญาต แบ่งเป็นธุรกิจ 62 ใบอนุญาต สาธารณะ 17 ใบอนุญาต และชุมชน 2 ใบอนุญาต รวมออกใบอนุญาตทั้งหมด 3,209 ใบอนุญาต
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช.อนุมัติหลักปฎิบัติประมูลทีวีดิจิทัล
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs