นาวาโทปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยาจำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เสนอแผนการพัฒนาการขนส่งมลชนสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาโดยเสนอให้รัฐเร่งลงทุนพัฒนาท่าเรือโดยสาร เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในอนาคต ส่วนเอกชนจะลงทุนสร้างเรือโดยสารขนาดใหญ่ ที่มีมาตรฐานและทันสมัย ซึ่งคาดว่าหากเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ จะช่วยยกระดับการขนส่งสาธารณะทางน้ำเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีผู้ใช้บริการเพียง40,000คนต่อวันเป็น200,000คนต่อวัน“เมืองหลวงที่มีแม่น้ำผ่านตรงกลางเมือง มีไม่กี่ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศที่มีแม่น้ำใหญ่ผ่าน ก็ให้ความสำคัญกับการโดยสารทางน้ำทั้งนั้น เพราะเดินทางสะดวก ไม่ติดขัดลงทุนน้อย แต่ประเทศไทยยังไม่ได้รับการผลักดันอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะระบบขนส่งเชื่อมต่ออำนวยความสะดวก ทำให้ไม่มีคนสนใจเข้ามาใช้บริการ ยิ่งในอนาคตมีรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก10สาย มีหลายสายที่เป็นจุดตัดบริเวณแม่น้ำจ้าพระยา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ที่จะต้องเร่งพัฒนาท่าเรือ เพื่อรองรับระบบดังกล่าว ขณะเดียวกันในเรื่องของการท่องเที่ย วล่าสุดมีสถานที่ท่องเที่ยวริมน้ำเตรียมก่อสร้างอีกอย่างน้อย3โครงการทั้ง ท่ามหาราช ยอดพิมา นและไอคอนสยาม ซึ่งการเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องไปด้วยเรือทั้งสิ้น”ทั้งนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำนั้น ได้เสนอให้กรมเจ้าท่า เร่งจัดทำแผนยกระดับท่าเรือ เป็นสถานีเรือเป็นระบบปิด ลักษณะคล้ายกับระบบรถไฟฟ้าโดยปรับปรุงท่าเรือเดิม หรือสร้างใหม่ ให้มีขนาดใหญ่รองรับการเดินทางของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ปรับปรุงระบบการออกบัตรโดยสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีจอแสดงผลการเดินเรือ ระยะเวลาที่เรือถึงท่า แบ่งเขตการขึ้น-ลงโป๊ะเรือ ไม่ให้สวนทางกัน ส่วนบนหลังคา ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำมาใช้ในสถานีเรือ เบื้องต้นเสนอให้นำร่องก่อน12-15ท่าเรือหลัก ใช้งบประมาณเพียง750ล้านบาทส่วนเอกชนจะลงทุนพัฒนาเรือโดยสารให้มีขนาดใหญ่ รองรับผู้โดยสารได้250ที่นั่งจากเดิม150ที่นั่ง เป็นเรือแบบสองเครื่องยนต์ ท้องเรือเปิด เพื่อลดแรงเสียดทาน สร้างคลื่นต่ำเพียง10เซนติเมตร และประหยัดเชื้อเพลิงได้20-30%ล่าสุดอยู่ระหว่างผลิตเรือต้นแบบมาทดลองวิ่ง ขณะเดียวกันยังเตรียมเสนอการต่อเรือดังกล่าว ไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ )เพื่อขอสิทธิพิเศษด้านการลงทุน เบื้องต้นหากได้รับการอนุมัติจะผลิตมาใช้ก่อน6ลำวงเงิน 240 ล้านบาทนาวาโทปริญญา กล่าวถึงการปรับอัตราค่าโดยสารว่า ล่าสุดยังอยู่ระหว่างการรอพิจารณาอนุมัติ จากที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าโดยสารเรือ ของกรมเจ้าท่า คาดว่าจะเริ่มพิจารราเรื่องดังกล่าว หลังจากแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้น โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ยื่นขอปรับค่าโดยสารขึ้น2บาท แต่คณะอนุกรรมการฯได้อนุมัติให้ปรับขึ้นเพียง1บาท ซึ่งยังไม่ได้มีผลบังคับใช้ เพราะยังไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่เห็นชอบ โดยการปรับขึ้นค่าโดยสาร1บาทนั้น อาจจะไม่ช่วยให้ลดภาระการขาดทะสะสมปีละ 10-12ล้านบาท ในช่วงปี55-56 ได้ แต่ก็ช่วยให้บริษัทมีสภาพคล่องได้ไปอีกระยะหนึ่ง“ปัจจุบันบริษัทมีเรือให้บริการอยู่ 90ลำแต่นำมาให้บริการจริง50 ลำที่เหลือ ได้ส่งซ่อมบำรุง เพื่อปรับสภาพให้สามารถนำมาให้บริการได้ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้แบกรับต้นทุนมาตลอด โดยเฉพาะค่าน้ำมันดีเซล เพราะค่าโดยสารตอนนี้ต่ำกว่าต้นทุนจริงคือ ต้องอยู่ในระดับน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ25บาท แต่ปัจจุบันน้ำมันดีเซลใกล้ลิตรละ30บาท ซึ่งบริษัทแบกรับมาอย่างนี้มาแล้ว7-8ปีแล้ว หากไม่ปรับขึ้น ก็คงต้องขาดทุน และไม่อยากให้มองว่าปรับขึ้นครั้งนี้ จะกระทบต่อผู้โดยสารมาก และหลายคนคงเข้าใจสถานการณ์”ทั้งนี้หากปรับขึ้นค่าโดยสารเรือด่วนขึ้นอีก1บาทจะส่งผลให้เรือธงธรรมดาปรับราคาขึ้นเป็น11-13-15บาท จากเดิม10-12-14 บาท ธงส้ม เพิ่มขึ้นเป็น16บาทจาก15 บาท และธงเหลือง เพิ่มขึ้นเป็น21บาทจากเดิม20บาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงคสช.ยกเครื่องขนส่งทางน้ำ

Posts related