นางจินตนา ชัยยวรรณาการ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ จัดทำโครงการ “เออีซี บิสสิเนส แพลน” เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา จากทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เข้าร่วมแข่งขันในการนำเสนอแผนธุรกิจ และกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งรุกและรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ที่สนใจสามารถนำแผนดังกล่าวไปใช้ในการขยายธุรกิจ หรือการรับมือกับการเปิดเออีซี เนื่องจากเอสเอ็มอีหลายรายแม้มีประสบการณ์แต่ยังไม่มีแผน“นักศึกษาจะมีความรู้ในเรื่องทฤษฎีและทางวิชาการ เมื่อมีการทำแผนธุรกิจที่แปลกๆ และแตกต่างจากแผนธุรกิจทั่วไปก็จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเอสเอ็มอีที่หลายรายยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรทั้งๆที่มีประสบการณ์ลงทุนและมีเงินจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว”สำหรับแผนธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือก จะใช้เผยแพร่ให้ความรู้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอี และผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อปรับใช้ในการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบ ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และการขยายกิจการไปลงทุนในตลาดอาเซียนอีก 9 ประเทศ รวมถึงการใช้เป็นแผนการปรับตัวของผู้ประกอบการในประเทศในการสร้างความเข้มแข็งรับการเปิดเออีซีทั้งนี้ นักศึกษาสามารถส่งแผนฯเข้าประกวดระหว่างวันที่ 2 พ.ค. – 30 มิ.ย. 57 แล้วทำการคัดเลือกระดับภูมิภาคจาก 4 ภูมิภาคเหลือให้เหลือ 10 ทีม ภายในเดือน ก.ค. เพื่อเข้ามาแข่งขันการเสนอแผนฯในรอบสุดท้ายในกรุงเทพฯ ชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ในเดือน ส.ค. นี้“หลักเกณฑ์การจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อเข้าประกวด ต้องจัดทำเป็นรายสาขาหรือกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน หรือ อุตสาหกรรม หรือ ธุรกิจ เน้นการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน รองรับเปิดเออีซี เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการขยายตลาดการค้า การลงทุน ไปอาเซียน”น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า จากกรณีที่ผู้ขอรับบริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พิมพ์ออกผ่านสาขาธนาคาร มีความคลางแคลงใจถึงความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ หรือไม่นั้น กรมฯได้ ขอชี้แจงว่า หนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พิมพ์ออกผ่านสาขาธนาคารพันธมิตร 6 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ออมสิน กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ และ ธนชาต จำนวนรวมกว่า 3,900 สาขาทั่วประเทศ เป็นหนังสือที่นายทะเบียนได้คัดลอกเนื้อความและรับรองความถูกต้องแล้ว“โดยนายทะเบียนจะลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบสิ่งพิมพ์ออก ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ “สพธอ.” และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองระบบการพิมพ์ออกจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้น หนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พิมพ์ออกผ่านสาขาธนาคาร จึงเป็นเอกสารต้นฉบับที่สามารถใช้อ้างอิงได้ตามกฎหมาย มีความถูกต้อง”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดึงนักศึกษาปั้นแผนธุรกิจลุยอาเซียน

Posts related