นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารได้อนุมัติให้ทำหนังสือขอบคุณ และส่งให้กับผู้บริจาคเงินในกองทุนช่วยเหลือชาวนาในช่วงต้นเดือน ต.ค.57 และให้จ่ายเงินคืนให้ผู้บริการเข้ากองทุนแบบที่ 2 (รับเงินคืน และรับดอกเบี้ย) และกองทุนแบบที่ 3 (รับเงินคืน ไม่รับดอกเบี้ย) ซึ่งเร็วกว่ากำหนด จากเดิมที่จะปิดโครงการวันที่ 31 ธ.ค.นี้ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ทยอยขายข้าว และส่งเงินคืนให้ธนาคารได้เร็วกว่ากำหนด“มติคณะกรรมการที่สั่งการให้ธนาคารจัดทำหนังสือขอบคุณ ส่งให้กับผู้บริจาคเงินในการช่วงเหลือชาวนา พร้อมกันนี้ก็จะมีการเชิญชวนให้ผู้บริจาคเงินดังกล่าวที่ยังอยากให้การสนับสนุนเกษตรกรต่อมาฝากเงินผ่าน ธ.ก.ส. โดยธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถรับรองความต้องการฝากเงินของผู้ฝากได้อีกมาก”สำหรับยอดการบริจาคเงินในกองทุนช่วยเหลือชาวนา อยู่ที่ 14,100 ล้านบาท โดยเป็นการบริจาคเข้ากองทุนที่ 1 (ไม่รับเงินคืน) 29.01 ล้านบาท กองทุนที่ 2 วงเงิน 917.79 ล้านบาท และกองทุนที่ 3 วงเงิน 13,200 ล้านบาท และจะมีการปิดโครงการนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ก.ย.57ทั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ในโครงการรับจำนำข้าวที่ยังค้างอยู่ 700,000 ล้านบาท โดยได้ขยายกรอบเวลาดำเนินการออกไปถึงวันที่ 30 ก.ย.58 จากเดิมสิ้นสุด 31 ธ.ค.57 นั้น เบื้องต้นคาดว่า ในชั้นแรกจะลดหนี้จะนำข้าวเหลือ 620,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือสำนักงบประมาณจะอนุมัติงบประมาณในปี 58 ออกมารองรับอีก 30,000 ล้านบาท รวมกับการส่งเงินจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์อีก 90,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 58 หนี้จำนำข้าวจะลดลงมาอยู่ในกรอบที่กำหนดนายลักษณ์ กล่าวว่า ส่วนแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่ได้รับผลกระทบจากราคาข้าวตกต่ำนั้น หลังจากนี้ธนาคาร จะเร่งหารือกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการในการดูแลราคาข้าวเปลือกเจ้า ที่คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงอีกในช่วงปลายเดือน ต.ค. – พ.ย. นี้ ซึ่งเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้าที่มีความชื้นประมาณ 25% ราคาจะอยู่ที่ 7-7.5 พันบาทต่อตัน ขณะที่ความชื้น 30% ราคารับซื้อจะลดลงมาอยู่ที่ 6,000-6,200 บาทต่อตัน โดยรัฐบาลมองว่าระดับราคาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมากก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวลง 432 บาทต่อไร่ จากปัจจุบันต้นทุนการผลิตจริง 4,770 บาทต่อไร่ หรือคิดเป็น 6,000 บาทต่อตัน เมื่อประเมินแล้ว แม้จะปรับลดต้นทุนการผลิต ที่ระดับดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงอยู่ที่ 4,300 บาทต่อไร่ หรือคิดเป็น 5,000 บาทต่อตัน ก็ยังไม่เพียงพอต่อเกษตรกร เนื่องจากปัจจุบันราคาข้าวที่ซื้อขายในตลาดอยู่ในระดับต่ำมากที่ 6,000-6,200 บาทต่อตันเท่านั้น“เป้าหมายของรัฐบาล คือการยกระดับราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้า ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ที่เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างมีความสุข นั่นคือ 8,000-8,500 บาทต่อตัน ที่ระดับความชื้น 15% แต่ปัจจุบันระดับราคาข้าวที่รับซื้อจริง ปรับตัวลดลงต่ำมาก ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ธนาคารเร่งหารือกับภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด”อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่ทำให้ระดับราคาข้าวปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพข้าวที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เพราะมีความชื้นสูงมาก ดังนั้นหากจะยกระดับราคาข้าวให้เพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรต้องขายข้าวให้กับโรงสี เพื่อเข้าสู่กระบวนการลดความชื้น ซึ่งจะมีผลในแง่ของต้นทุนตามมาอีก จึงเป็นประเด็นที่ต้องหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อไป
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธ.ก.ส. เตรียมร่อนจดหมายขอบคุณ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs