ธุรกิจว่าจ้าง…ก่อสร้างเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นทางเลือกสำคัญของผู้บริโภคที่ต้องการมีบ้านในรูปแบบที่ต้องการ โดยมองหาจากการโฆษณารับจ้างสร้างบ้านจากสื่อต่าง ๆ หรือจากการบอกเล่าปากต่อปาก โดยไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญญา เงื่อนไขการใช้บริการ หรือผลงานที่บริษัทฯ หรือผู้รับเหมาเคยทำมาก่อน จึงกลายเป็นปัญหาและมีการร้องเรียนมาที่ สคบ.กันมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้ประกอบธุรกิจ กำหนดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค เช่น กำหนดงวดการชำระเงินไม่สัมพันธ์กับงวดงาน ใช้วัสดุไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในสัญญา ใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพ การก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไม่รับผิดชอบและแก้ไขความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้น ก่อสร้างล่าช้า หรือ ทิ้งงาน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้สะท้อนถึงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ เพราะผู้ว่าจ้างได้ตกลงทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว แต่กลับถูกเอาเปรียบ ปฏิเสธความรับผิดชอบ หรือหนีหายไปก็มี แม้ว่าที่ผ่านมา สคบ. ได้ช่วยเหลือโดยเจรจาไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เพื่อยุติข้อพิพาท หรือดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร และยังมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคมาร้องเรียนอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น สคบ.ขอแนะนำให้ผู้บริโภคตรวจสอบสัญญารับจ้างสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัย ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค โดยอาศัยร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการรับจ้างก่อสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ….(ทั้งนี้ร่างประกาศอยู่ในระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบก่อนเริ่มใช้บริการดังกล่าวได้) โดยรายละเอียดในสัญญา ต้องมีข้อความ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทำสัญญา วันเดือนปีที่ทำสัญญา รูปแบบอาคาร สถานที่ทำการก่อสร้าง ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวประชาชนของผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล ให้ระบุรายละเอียดตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้วย รวมถึงเรื่องของบัญชีแสดงปริมาณวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และราคารายละเอียดงวดงานกับการชำระเงินตามเนื้องานที่ได้สัดส่วนกันในแต่ละงวด เป็นต้น หากพบปัญหาในระหว่างการก่อสร้าง หรือหลังจากผู้บริโภคได้รับมอบงานแล้ว มีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นหรือผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามสัญญาและผู้บริโภคได้บอกกล่าวให้แก้ไขความชำรุดบกพร่องหรือ ให้ปฏิบัติตามสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแล้ว แต่ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่แก้ไขหรือไม่ปฏิบัติตาม ผู้บริโภคมีสิทธิเอางานก่อสร้างให้บุคคลภายนอกแก้ไข หรือดำเนินการต่อไปได้โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดในความเสียหายและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างประกาศสัญญาฯ ดังกล่าว สามารถตรวจสอบได้จาก www.ocpb.go.th หรือสอบถามได้ ที่กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โทร. 0-2141-3441–5.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ผู้บริโภคต้องใส่ใจในสัญญา – ไขปัญหาผู้บริโภค
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs