น.ส.อุรวี เงารุ่งเรือง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้บริโภคทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อ) เดือน พ.ย. 56 อยู่ระดับ 105.86เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.92% และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่0.09% โดยมีสาเหตุมาจากการปรับขึ้นราคาของอาหารสำเร็จรูปเครื่องดื่ม ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง รวมถึงน้ำมัน และก๊าซหุงต้ม เป็นต้น เมื่อรวม 11 เดือนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่2.24% และตั้งปีเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ที่ระหว่าง2.1-2.6% นอกจากนี้พบว่าในส่วนที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ลดอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายลงมา 0.25% จาก 2.5% เหลือ 2.25% ส่งผลให้ประชาชนได้มีการนำเงินออมออกมาจับจ่ายใช้สอยส่วนหนึ่ง จนทำให้เงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่จะเห็นผลที่ชัดเจนในเดือนธ.ค.นี้ ถึงไตรมาสแรกปีหน้า “ในภาพรวมมีราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้น194 รายการ ปรับลดลง 87 รายการ และไม่มีการเปลี่ยนแปลง 169 รายการ โดยสินค้าที่ลดจากเดือนก่อน เช่น เนื้อสัตว์ ไก่ไข่ ผัก ผลไม้ ผลซักฟอก น้ำยาล้างจานเนื่องจากมีโปรโมชั่นการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ” ทั้งนี้รายละเอียดของเงินเฟ้อที่ขยายตัว 1.92% มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ซึ่งมีสัดส่วนต่อการคำนวณเงินเฟ้อ 34.43% เพิ่มขึ้น 3.85% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น เช่น เนื้อสัตว์เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 8.51% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 6.98% ผักและผลไม้ 5.45% อาหารปรุงสำเร็จ 2.18% เครื่องประกอบอาหาร 2.16% เป็นต้น ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม มีสัดส่วนต่อการคำนวณเงินเฟ้อ65.57% เพิ่มขึ้น 0.86% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง2.47% สุรา เบียร์ บุหรี่ 3.85% ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก 0.83% เป็นต้น น.ส.อุรวรี กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวในระดับต่ำปีนี้สาเหตุหลักมาจากแรงกดดันต่อเงินเฟ้อมีน้อยลงโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดต่ำลงหรือไม่เกินสมมุติฐานที่คำนวณอัตราเงินเฟ้อไว้ประกอบกับสินค้าคงเหลือในประเทศมีจำนวนมาก มาจากกำลังซื้อทั่วโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นดีส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยน้อยลง จึงลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในประเทศ ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค.คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงกับเดือนพ.ย. หรือขยายตัวใกล้เคียง 2% ขณะที่เงินเฟ้อปี 57ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2-2.8% ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ 95-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 29-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัว 3-5% โดยแนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาสแรกปี 57 คาดว่าจะสูงขึ้นประมาณ 2-2.1% “ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยในปี 57 มาจากการกระตุ้นของการใช้งบประมาณรัฐบาลและการลงทุนในโครงการตามนโยบายในด้านลงทุนโครงการพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท บริหารจัดการทำ 350,000 ล้านบาท การลงทุนภาคเอกชนและการขยายตัวของการส่งออก” สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ(เงินเฟ้อพื้นฐาน) ที่คำนวณสินค้า 312 รายการ หักกลุ่มอาหารสดและพลังงานออก 138 รายการ เท่ากับ 103.54 สูงขึ้น 0.85% เทียบกับพ.ย. 2555 และสูงขึ้น 0.18% เทียบกับต.ค. 2556 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน 11เดือนสูงขึ้น 1.02% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พ.ย.เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs