นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า องค์กรชาวไร่อ้อย 4 องค์กร ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย มีมติร่วมกันนำชาวไร่อ้อยทั่วประเทศประมาณ 60,000 คน มาชุมนุมที่กระทรวงอุตสาหกรรม ในวันที่ 27 เม.ย. นี้ เพื่อกดดันให้กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาราคาอ้อยต่ำกว่าต้นทุนการผลิต โดยได้เสนอให้เพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 56/57 ให้สูงกว่า 900 บาทต่อตัน เนื่องจากที่ผ่านมากำหนดราคาไว้ 900 บาทต่อตัน ไม่คุ้มต้นทุนการผลิต “ ที่ผ่านมาคณะกรรมการ กอน. ซึ่งมีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน พยายามหลบเลี่ยงการประชุมตลอด ทั้งที่มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นซึ่งอยู่ที่เพียง 900 บาทต่อตันซึ่งชาวไร่อ้อยเห็นว่าไม่คุ้มทุน ซึ่งเราก็ต้องการให้เสนอครม.อนุมัติเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อนำมาเป็นส่วนเพิ่มราคาอ้อยให้ได้อย่างน้อย1,100-1,200บาทต่อตันหรืออย่างไรก็ว่ามา โดยได้ศึกษามาแล้วว่า ไม่ต้องเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาแต่อย่างใด ไม่เหมือนกรณีข้าว เพราะเงินที่ช่วยอ้อย เป็นเงินกู้ของธ.ก.ส. ไมได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน ” สำหรับการเคลื่อนไหว ได้นัดชุมนุม และรถบรรทุกไว้แล้วในวันที่ 27 เม.ย. โดยชาวไร่ ภาคอีสานได้นัดพบกันอ.วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะรวมกับสายสระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ สายเหนือ นัดที่อ.บางปะอิน รวมอุทัยธานี ภาคกลางเจอกันที่อ.บางบัวทอง ภาคตะวันออก นัดชุมนุมที่บริเวณมอเตอร์เวย์ หรืออ.วังน้อย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับเรื่องจากชาวไรอ้อย จึงได้ประสานงานคณะกรรมการเพื่อประชุมกอน. ในวันที่ 25 เม.ย. เพื่อให้ชาวไร่ ยุติการเคลื่อนไหว แต่ล่าสุดได้แจ้งขอเลื่อนการประชุมกอน.ออกไปวันที่ 28 เม.ย. เนื่องจากคณะกรรมการ ฯ ยังไม่พร้อมประชุม ชาวไร่อ้อย จึงมีมติล่าสุด ไม่ยุติการเคลื่อนไหว เนื่องจากเห็นว่า ฝ่ายราชการไม่จริงใจในการแก้ปัญหา เลื่อนการประชุมหลายครั้ง นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์และสันทนาการ3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ล่าสุดการหีบอ้อย 56/57 หลังเปิดหีบมาได้ 149 วัน มีอ้อยเข้าหีบ 103.20 ล้านตันอ้อย ค่าความหวานในอ้อย (ซี.ซี.เอส) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 12.55ซี.ซี.เอส ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย จากเดิมที่ค่าความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 10 – 11 ซี.ซี.เอสเท่านั้น ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ จะมีรายได้จากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นอีก 54 บาทต่อทุก 1 ซี.ซี.เอสต่อตันอ้อยที่ปรับขึ้น จากค่าอ้อยขั้นต้น 900 บาทต่อตัน ที่กำหนดค่าความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ซี.ซี.เอส
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ม๊อบไร่อ้อยฮือเข้ากรุงขอขึ้นราคาอ้อย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs