นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมฯมีแผนจูงใจให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี เข้ามาในระบบมากขึ้น ด้วยการรณรงค์ให้ใช้ใบกำกับภาษี เพื่อแก้ปัญหาใบกำกับภาษีปลอม หรือการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือนำใบกำกับภาษีไปขายต่อ ด้วยการส่งใบกำกับภาษีชิงโชค ส่วนรางวัลจะเป็นอะไรบ้างนั้น กำลังให้เจ้าหน้าที่ศึกษารายละเอียด คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้จะช่วยให้รัฐจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น นอกจากนี้เตรียมเสนอให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง และนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง พิจารณาเรื่องการหักค่าใช้จ่ายการเสียภาษีแบบเหมาจ่ายของบุคคลธรรมดาจาก 40% ไม่เกิน 60,000 บาท ว่าจะหักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้หรือไม่ หรือนำใบกำกับภาษีมาหักค่าใช้จ่ายเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้มากน้อยแค่ไหน ตลอดจนทบทวนรายการลดหย่อนภาษี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ว่ารายการใดมีการใช้มากสุดและรายการไหนใช้น้อยสุด พร้อมดูว่ามีรายการใดที่ต้องเพิ่มการลดหย่อนภาษีหรือไม่ ส่วนการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(แอลทีเอฟ) ต้องดูว่ามีเพิ่มขึ้นหรือไม่ และถ้ากองทุนฯ แข็งแกร่งแล้วจำเป็นต้องยกเลิกหรือไม่ สำหรับปรับลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% นั้น เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้ามาอยู่ในฐานภาษีมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าเอสเอ็มอีและนิติบุคคลที่ไม่ใช่มหาชน หลีกเลี่ยงการแสดงทรัพย์สิน ไม่มีงบการเงิน เช่น ที่ดิน หรือเงินทุน ซึ่งจะใช้ข้อมูลทางการเงินที่กรมฯมีอยู่ตรวจสอบในแต่ละบริษัท และจากข้อมูลยังพบว่า บางรายกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์มาลงทุน แต่ตรวจสอบไม่พบบริษัทเป็นผู้กู้ยืม แต่กลับเป็นชื่อบุคคลมากู้แทน ทำให้รัฐเก็บภาษีได้ไม่เต็มที่ ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 7% เป็น 10% นั้น ยังคงจัดเก็บอัตราเดิมที่ 7% เพราะยังเก็บภาษีตัวอื่นมาทดแทนภาษีแวตที่หายไปได้ เช่น ภาษีหักณ ที่จ่าย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ต้องดูนโยบายรัฐว่าจะทำอย่างไร ซึ่งถ้าให้จัดเก็บเหมือนเดิมคาดว่าจะเป็นการทยอยปรับขึ้นครั้งละ 1% มากกว่า ด้านนางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่มีนโยบาย หรือความคิดที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มไปจนถึง 30 ก.ย.57 เนื่องจากข่าวที่ออกมาส่งผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน เพราะผู้ประกอบการกักตุนสินค้าทำให้ราคาสินค้าที่ไม่แพงกลับมีราคาแพงขึ้น และไม่มีปัญหาการจัดเก็บรายได้ ขณะนี้รัฐบาลก็ไม่มีปัญหาเรื่องรายได้ โดยปีงบประมาณ57 คาดว่าการเก็บรายได้ 2.275 ล้านบาทบาท รายงานข่าวแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ได้โพสต์ข้อความในเพซบุ๊คว่า กำลังเดินทางเพื่อพบนักลงทุนใน สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ จะกลับถึงไทยในวันที่ 30 ต.ค.นี้ ขอยืนยันว่ารัฐบาลและกระทรวงการคลัง ไม่มีนโยบายที่จะขึ้นภาษีใด ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เพราะขณะนี้รายได้ปีงบประมาณ 56 เกินเป้าหมายเกือบ 60,000 ล้านบาท
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สรรพากรจัดชิงโชคใบกำกับภาษี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs