ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของไทยมากว่า 50 ปี ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำงานอย่างหนัก ทั้งเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่กระจายและการระบาดของโรคติดต่อที่สําคัญ  ล่าสุดกรมควบคุมโรค ได้ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเชิงรุกขึ้น โครงการนี้ประกอบไปด้วย ระบบสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยแท็บเล็ตแอนดรอยด์  (Dengue Mosquito Larvae Survey Program : DMLS) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลการ สำรวจฯ และได้มาซึ่งดัชนีทางกีฏวิทยาทันทีหลังเสร็จสิ้นการ สำรวจฯ ระบบติดตามและแจ้งเตือนสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก (Dengue Fever Epidemic Monitoring & Alert System: DMAS) เพื่อรายงานสถานการณ์และกระจายข่าวสารแก่ผู้รับผิดชอบในลักษณะใกล้เคียงกับเวลาปัจจุบัน และระบบรายงานโรคไข้เลือดออกและการสำรวจลูกน้ำยุงลายเชิงวิเคราะห์ (Dengue and Mosquito Larvae Survey Analysis Report System: DMAR) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในมุมมองต่าง ๆ นายวัชรากร หนูทอง นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยโพรโตคอลและเครือข่ายไร้สาย  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  หรือเนคเทค  สวทช. บอกว่า  ปัจจุบันการสำรวจลูกน้ำยุงลาย  ที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ยังใช้ฟอร์มกระดาษ ซึ่งมีโอกาสสูญ หาย และเสื่อมสภาพตามกาลเวลา  นอกจากนี้ยังเสียเวลา  เสียพื้นที่จัดเก็บเอกสารจำนวนมาก ขณะที่การกรอกแบบฟอร์มในกระดาษอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและส่งผลต่อความผิดพลาดของข้อมูล และยังใช้เวลาการรวบรวม และประมวลข้อมูลนาน ส่งผลทำให้การแจ้งเตือนโรคระบาดล่าช้า ดังนั้นทีมวิจัยจึงร่วมกับกรมควบคุมโรคพัฒนาเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้สำรวจและรวบรวมข้อมูลดัชนีลูกน้ำยุงลายอย่างเป็นระบบ โดยในระยะเริ่มต้น จะนำแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  มาใช้แทนการจดบันทึกแฟ้มกระดาษ และสามารถส่งผลสำรวจเข้าสู่ระบบ คลาวด์ คอมพิวติ้ง  ได้ทันที  มีเทคโนโลยีจีพีเอส ช่วยเก็บพิกัดบ้านที่ดำเนินการสำรวจ ทำให้ลดเวลา และสามารถใช้ข้อมูลได้ทันที หลักการทํางานออกแบบโดยอ้างอิงจากระบบบันทึกด้วยกระดาษ  แต่พัฒนาให้มีความสามารถในการเรียกดูประวัติข้อมูลดัชนีทางกีฏวิทยา ในพื้นที่ที่ทําการสํารวจ การระบุพิกัดบ้านหรือสถานที่ที่สำรวจ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลผ่านแผนที่แยกเฉดสีตามระดับความเสี่ยงของค่าดัชนีกีฏ วิทยา สามารถแจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอส หรือ โซเชียล เน็ตเวิร์ก ถึงเครือข่ายในพื้นที่ที่มีค่าดัชนีกีฏวิทยาเกินค่ามาตรฐาน และแจ้งไปยังบุคลากรและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเพื่อออกมาตรการควบคุมป้องกันการระบาดได้อย่างทันท่วงที โปรแกรมออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนและระบุตัวตน แยกตามสํานักงานป้องกันควบคุมโรคระดับเขตได้ ทำงานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ นักวิจัยบอกว่า ปัจจุบันโปร แกรม  DMLS ระยะที่ 1 เริ่มดําเนินการไปแล้วประมาณ 70% โดยมีการทดสอบใช้งานจริงในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การดําเนินงานในระยะต่อไป จะนำข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกมาแสดงความสอดคล้องของอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกและค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายจะมีการประ สานข้อมูลจากแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน แสดงบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเซอร์วิส ทําให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนโครงการที่ 2 จะทำระบบติดตามและแจ้งเตือนสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก และโครงการที่ 3  จะทำระบบรายงานโรคไข้เลือดออกและการสำรวจลูกน้ำยุงลายเชิงวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในแก้ปัญหา นักวิจัยบอกอีกว่า จากการทดสอบภาคสนาม พบว่าระบบฯ สามารถบันทึกการสำรวจและระบุพิกัดบ้านที่ถูกสำรวจ พร้อมแสดงผลได้ทันทีหลังจากสำรวจเสร็จ และเป็นที่สนใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอปาก เกร็ด และ รพ.สต.คลองพระอุดมอำเภอปากเกร็ด อย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกของการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเชิงรุก โดยจังหวัดนนทบุรีจะเป็นจังหวัดแรกที่นำร่องระบบฯ อย่างเต็มรูปแบบก่อนที่จะขยายผลการใช้งานไปทั่วประเทศในระยะเวลา 3 ปี. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยแท็บเล็ต

Posts related