รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดพิมพ์รายงานแสดงผลการดำเนินงานของครม. ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมซึ่งเป็นผลงานรัฐบาลในปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 23 ส.ค.55-23 ส.ค.56 โดยเฉพาะด้านการดูแลสินค้าเกษตรซึ่งตามรายงานได้ระบุถึงโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 55 และนาปี ปีการผลิต 55/56 รวมทั้งหมด 3 รอบนั้น รัฐบาลได้ใช้เงินจ่ายไปกว่า 545,869 ล้านบาทโดยมีปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 36.25 ล้านตัน ทั้งนี้การดำเนินการทั้ง 3 รอบแบ่งเป็น นาปรังปี 55 ผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ต.ค. 55 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1.02 ล้านราย ปริมาณการรับจำนำ 14.86 ล้านตัน รวมเป็นเงินที่จ่ายให้เกษตรกร 218,196 ล้านบาท ขณะที่นาปี ปี 55/56 รอบที่ 1 ระหว่างเดือนต.ค.55 – 15ก.ย.56 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2.23 ล้านราย รับจำนำ 14.54 ล้านตันเป็นเงิน ถึงวันที่ 28 ส.ค.56 รวม 234,185 ล้านบาท ส่วนรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 14มี.ค. – 15 ก.ย.56 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 787,237 ราย รับจำนำ 6.85 ล้านตันเป็นเงิน 93,488 ล้านบาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลระบุว่า ตามผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตั้งแต่ปีการผลิต 54/55 และปีการผลิต55/56 สามารถยกระดับรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาที่สูงขึ้นเฉลี่ย 4,000 บาทต่อตัน ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ยังได้รับประโยชน์จากราคาตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2,500 บาทต่อตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 204,018 ล้านบาท ส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนำเงินที่ได้รับมาใช้ในระบบเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 55/56 เมื่อสิ้นสุดโครงการวันที่ 31มี.ค.56 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 372,457 รายปริมาณรับจำนำรวม 9.99 ล้านตันโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว 26,877 ล้านบาท ซึ่งผลจากการดำเนินดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาตลาด 0.48 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารวม 4,795.20 ล้านบาท ขณะเดียวกันรายงานยังระบุด้วย ว่ารัฐบาลได้ติดตามตรวจสอบการรับจำนำสินค้าเกษตรให้ถูกต้องโปร่งใสและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำ โดยสุ่มตรวจสอบโรงสีตลาดกลาง โกดังกลาง และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 47 จังหวัด ซึ่งผลการตรวจสอบตั้งแต่เดือนก.ย.55-มิ.ย.56 ได้ตรวจสอบไป 2,486 ราย พบการกระทำผิดและดำเนินคดีรวม 91 คดีโดยเป็นความผิดเกี่ยวกับการขนย้ายข้าวสารและมันสำปะหลังโดยไม่ได้รับอนุญาตการสวมสิทธิเกษตรกร ข้าวขาดบัญชี และปริมาณมันสำปะหลังเหลือน้อยกว่าบัญชีที่แสดง
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์ปี 2
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs