วันนี้( 8 ก.พ.)น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่10ก.พ. นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะมีการพิจารณาวาระสำคัญและน่าจับตา ได้แก่ ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ เสนอขอทบทวนมติ กสท.ครั้งที่ 1/2557 เรื่อง การส่ง(ร่าง)ประกาศเนื้อหาตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 หรือ หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. … ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาในประเด็นที่ “กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ อย่างไร และ เนื้อหาในร่างประกาศฯ มีลักษณะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของกสทช. หรือไม่ อย่างไร” เนื่องเพราะเห็นว่า คปก.ไม่มีอำนาจตรวจสอบกฎหมายในลำดับรอง อย่าง ประกาศ พร้อมเสนอให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช.พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องแทน “เมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ ถึง กสทช. เรื่องการออก(ร่าง)ประกาศ กสทช.ควบคุมเนื้อหารายการ ว่า ไม่มีอำนาจในการจัดทำร่างประกาศฯ เนื่องจากอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง กสท. ได้พิจารณาและมีมติส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความทางกฎหมายต่ออำนาจ และขอบเขตการออกประกาศกำกับเนื้อหาฉบับนี้ เพื่อความรอบคอบต่อการใช้อำนาจของ กสทช.ที่อาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรายใหม่24ช่อง และสื่อวิทยุ – ทีวี จึงขอฝากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบและติดตาม พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับแนวความคิดเรื่องเสรีภาพสื่อกันต่อ เพราะดูเหมือนว่าอาจจะมีการนำร่างประกาศฉบับเดิมที่วิชาชีพสื่อ และนักวิชาการเคยคัดค้านกลับมาเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง” น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กสท. เตรียมพิจารณาร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการแข่งขัน 2 ฉบับ แบบมาตรการบังคับก่อน(Ex-ante) (ร่าง)ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องกับกิจการฯ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. … และ แบบมาตรการบังคับหลัง(Ex-post) (ร่าง)ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณาและกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการฯ พ.ศ. …. หลังจากที่มติครั้งที่แล้วได้เห็นชอบในหลักการ และมอบหมายทีมที่ปรึกษาโครงการนำร่างฯดังกล่าว เข้าหารือกับ กสท. เพื่อพิจารณาปรับปรุงและเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญต่างๆ ก่อนนำกลับเข้าที่ประชุมเพื่อเห็นชอบ และดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะต่อไป.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “สุภิญญา” เผยจับตาประชุม กสท. นำร่างฯคุมเนื้อหารายการพิจารณาอีกครั้ง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs