นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกกร.ว่า มาตรการเศรษฐกิจที่คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้แต่ละหน่วยงานเร่งดำเนินการโครงการต่าง ๆ นั้นจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ประมาณ 2-2.5% จากเดิมในช่วงที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเศรษฐกิจในไตรมาส 1/57 ติดลบ 0.6% และทั้งปีจะโตเพียง 1% เป็นผลมาจากการเร่งจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าวให้กับชาวนาวงเงิน 92,000 ล้านบาทภายในเดือนมิ.ย.นี้ทำให้การบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการเบิกจ่ายงบลงทุนอีก 7,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้หน่วยงานไปจัดทำงบประมาณปี 58 ให้เสร็จก่อนเดือนก.ย.นี้ นอกจากนี้การเลือกลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทบางโครงการที่มีความจำเป็น เช่น ส่วนต่อขยายรถไฟใต้ดิน รถไฟรางคู่ และโครงการบริหารจัดการน้ำ จะส่งผลดีต่อระบบโลจิสติกส์และการขยายตัวของสินเชื่อ คาดว่าจะโตประมาณ 8-10% จากเดิมที่ตั้งไว้ว่าสินเชื่อในระบบจะโตประมาณ 6-8% “ปัจจุบันผู้บริหารประเทศมีความชัดเจนจะทำให้เศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ จากเดิมก่อนรัฐประหารเศรษฐกิจหดตัว แต่เชื่อว่าการจ่ายเงินให้ชาวนาจะทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน” สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น เตรียมเสนอคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติจัดสรรงบประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ขยายการค้ำประกันความสูญเสียโครงการให้เอสเอ็มอี จากเดิมสัดส่วน 18% เป็นสัดส่วน 50% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่อง นอกเหนือจากการให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศเข้ามาร่วมค้ำประกันกับบสย. ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการมากขึ้น ขณะเดียวกันเร่งออกพรก. ขยายเวลาลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติ บุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออกไปอีก 2 ปี เร่งจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพราะมีโครงการรอพิจารณา 400 โครงการ เงินลงทุน 660,000 ล้านบาท รวมถึงเจรจาเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ เพื่อกระตุ้นการส่งออก รวมทั้งเสนอให้มีคณะกรรมการและการจัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน(กรอ.) เพื่อเป็นกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยเป็นเรื่องสำคัญ โดยภาคเอกชนจะใช้เวทีการประชุม อาเซียนบิสสิเนส ซัมมิท ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 14 – 15 ก.ย.นี้ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ทำความเข้าในกับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งให้จัดทำโครงการเมดอินไทยแลนด์ กำหนดใช้วัตถุดิบที่ผลิตจากไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กกร.หวังจีดีพีโต2.5%
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs