วันนี้(21 ก.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า กสทช. ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ จัดกิจกรรม “คืนแบตเก่าเรารักษ์โลก” เพื่อรับคืนขยะอิเล็กทรอนิกส์และขยะโทรคมนาคมอาทิ มือถือเก่า แบตเตอรี่เก่าแบตเตอรี่ที่ไม่ใช่แล้ว หรือแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพ โดยรณรงค์ให้ผู้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป นำมาคืนที่จุดรับคืนขยะพิษกว่า300 จุด อาทิ ศูนย์บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วไปโดยกสทช.ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ใช้งานโทรศัพท์กว่า110 ล้านเลขหมาย ส่งผลให้แบตเตอรี่มือถือจะมีจำนวน 110 ล้านชิ้น ส่งผลให้กสทช. หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของประเทศ เห็นถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทิ้งโทรศัพท์เคลื่อนที่และแบตเตอรี่เก่า จึงจะได้รวบรวมแบตเตอรี่เก่าเหล่านั้นไปจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการและความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณขยะเป็นพิษ และขยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้านนางสุณีปิยะพันธ์พงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า คาดว่า โทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถือในปี 2556 มีปริมาณ 20.88 ล้านเครื่องโดยโทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์บ้านมีสัดส่วนสูงสุด 9.14 ล้านเครื่อง และในปี 2557คาดว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มเป็น22.08 ล้านเครื่องโดยส่วนใหญ่เป็นโทรศัพท์มือถือ – บ้าน 9.75 ล้านเครื่องและคาดว่าโทรศัพท์มือถือ-บ้าน จะเพิ่มเป็น10.9 ล้านเครื่องในปี 2559 ซึ่งหากนำมาเรียงกันจะเทียบปริมาณเท่ากับสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานประมาณ6 สนามครึ่ง นอกจากนี้ตัวโทรศัพท์มีส่วนผสมของสารอันตรายตั้งแต่สารหนู พลวง ตะกั่ว สารทนไฟที่ทำจากโบรมีน แคดเมียม ตะกั่ว นิกเกิลส่วนจอผลึกเหลวก็มีสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารอันตรายและสารก่อมะเร็ง ซึ่งจอผลึกเหลวนี้กำลังเป็นที่น่าวิตกกังวลเนื่องจากโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาเป็นสมาร์ทโฟน มีหน้าจอใหญ่ขึ้น แต่เมืองไทยยังไม่มีวิธีรีไซเคิลหากมีการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและซากแบตเตอรี่ปะปนไปกับขยะมูลฝอยชุมชน ส่วนเปลือกห่อหุ้มของเครื่องโทรศัพท์และแบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพหรือผุกร่อนสารเคมีที่เสื่อมสภาพ ภายในจะไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมส่งผลให้สารพิษนี้เข้าสู่ระบบนิเวศและระบบห่วงโซ่อาหารผ่านทางน้ำ และอากาศและก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ“เมื่อได้ขยะอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้มาแล้วจะนำมารวบรวมแยกชิ้นส่วน โดยมองว่าควรมีภาคผู้ประกอบการที่รับแยกขยะรีไซเคิล และกำจัดขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลและต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงาน เนื่องจากปริมาณขยะแบตเตอรี่เก่าจะเพิ่มสูงขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนยุค2 จี 3 จี ไปยัง 4 จี ” นางสุณี กล่าว
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช.รณรงค์ส่งคืนแบตมือถือเก่า
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs


