วันนี้ (28 พ.ย.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากการถูกไฟดูดขณะชาร์จโทรศัพท์มือถือ ที่ สภ.แกลง จ.ระยอง นั้น ล่าสุดสำนักงาน กสทช.ได้มีหนังสือถึง สภ.แกลง ขอให้ส่งเครื่องโทรศัพท์ที่มีปัญหามาให้ตรวจสอบตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 ว่ามีการนำเข้าหรือมีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. หรือไม่ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลของสำนักงาน กสทช. กรณีเครื่องโทรศัพท์มือถือมีปัญหาและการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาระหว่างปี 2555 – 2556 รวมกรณีนี้พบว่ามี 3 กรณี สำหรับ 2 กรณีแรกได้แก่ 1. กรณีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 5 ระเบิด เมื่อวันที่ 12 มี.ค.56 ที่กรุงเทพฯ โดยสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการตรวจสอบ และพบน๊อตแปลกปลอมอยู่ในถาดรองแบตเตอรี่ ทำให้แบตเตอรี่เกิดการกดทับและทำให้ช๊อตกันระหว่างเซลล์ของแบตเตอรี่2. กรณีโทรศัพท์มือถือโนเกียไม่สามารถระบุรุ่น ระเบิดเมื่อวันที่ 10 ก.ย.56 ที่ จ.ระยอง โดยสำนักงาน กสทช.ได้ประสานไปยังบริษัทโนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ทางบริษัทฯ ตรวจสอบว่าเป็นเครื่องของบริษัทฯ หรือไม่ และเป็นรุ่นใดอย่างไรก็ตาม กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นนับเป็นอุทาหรณ์ และสำนักงาน กสทช. เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เนื่องจากส่งผลถึงผู้ใช้บริการโทรคมนาคมโดยตรง และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงาน กสทช.จึงขอเตือนผู้บริโภคให้เลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ไม่ควรเห็นแก่ของที่มีราคาถูก ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานสากล จะผ่านการตรวจสอบคุณภาพการผลิต และหากผู้ใช้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้ จะทำให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยสำหรับ การตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือว่าผ่านการรับรองมาตรฐานหรือไม่นั้น เครื่องโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจะต้องมีเครื่องหมายแสดงการรับรองมาตรฐานเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ที่ออกโดยสำนักงาน กสทช. ซึ่งจะระบุหมายเลขการรับรอง เลขปี ค.ศ. ที่รับรอง และรหัสประจำตัวของผู้ประกอบการ เช่น CLASS B NTC ID. AAAAAA-BB-XXXX โดยที่ AAAAAA หมายถึง หมายเลขรับรอง 6 หลัก BB หมายถึง เลขปี ค.ศ. ที่รับรอง ซึ่งจะเป็นเลขสองหลักสุดท้าย และ XXXX หมายถึง รหัสประจำตัวผู้ประกอบการ 4 หลัก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องแสดงเครื่องหมายให้เห็นที่ตัวเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ในลักษณะที่อ่านออกได้ และต้องแสดงเครื่องหมายในวัสดุที่ใช้ร่วมกับเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์นั้น เช่น บรรจุภัณฑ์ คู่มือการใช้งาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับอุปกรณ์ประกอบหรืออุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์มือถือ เช่น สายชาร์จ แบตเตอรี่ หูฟัง และอื่นๆ นั้น อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์จากสำนักงาน กสทช. “ตามพ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กำหนดให้เครื่องโทรศัพท์จะต้องได้รับอนุญาตให้มีการนำเข้าโดยถูกต้องจากสำนักงาน กสทช. และมาตรา 32 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 กำหนดให้เครื่องโทรศัพท์จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. ก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากพบเห็น หรือสงสัยว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่ซื้อมาได้รับมาตรฐาน สามารถส่งมาตรวจสอบได้ที่สำนักงาน กสทช.ทันที” นายฐากร กล่าว
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช. รับตรวจสอบมือถือหากพบเข้าข่ายไม่ได้มาตรฐาน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs