เมืองไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกันแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ในขณะนี้คือ การแย่งใช้ก๊าซแอลพีจี ระหว่างภาคประชาชนกับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ภาคประชาชนนำโดยแกนนำเอ็นจีโอ และนักวิชาการภาคประชาชนกลุ่มหนึ่ง ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรก๊าซแอลพีจีที่ได้จากโรงแยกก๊าซให้ประชาชนได้ใช้ก่อน ถ้ามีเหลือค่อยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ ถ้าไม่เหลือก็ให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปนำเข้าจากต่างประเทศเอง ไม่ต้องมาเป็นภาระของกองทุนน้ำมันฯ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องมาขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีกับประชาชน ฟังดูน่าเชื่อถือ ประชาชนก็ชอบ เพราะไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

ส่วนภาคผู้ประกอบการ กระทรวงพลังงาน และนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ก็บอกว่าก๊าซในอ่าวไทยเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถนำมาแยกออกเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานปิโตรเคมีเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ ถ้าเอาไปเผาเป็นแอลพีจีให้ประชาชนใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด เป็น การทำลายคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างน่าเสียดาย

อีกประการหนึ่ง การสร้างโรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมีนั้นเป็นสิ่งที่พัฒนามาด้วยกันและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาอุตสาห กรรมชายฝั่งตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ดังนั้นการไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้ไปใช้ก๊าซนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบ ย่อมเป็นการทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 680,000 ล้านบาท ในทางอ้อมนั่นเอง เพราะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยที่สร้างขึ้นมาในระยะแรกนั้น เป็นโรงงานประเภท Gas-based ไม่ใช่ Liquid-based ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบได้ทั้ง 2 ชนิด คือจะใช้แอลพีจี หรือ แนฟทา เป็นวัตถุดิบก็ได้ (ถ้าแอลพีจีแพงก็เปลี่ยนไปใช้แนฟทาได้ แต่โรงงานประเภท Gas-based ทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าต้องนำเข้าแอลพีจีในราคาแพงมาเป็นวัตถุดิบก็เจ๊งลูกเดียว หรือไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นที่เขามีวัตถุดิบในราคาถูกกว่าได้)

นอกจากนั้นถึงแม้จะไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้แอลพีจีนำเข้าได้สำเร็จ ตามทึ่แกนนำภาคประชาชนบางคนต้องการ แอลพีจีที่ประชาชนใช้ก็ยังต้องขึ้นราคาอยู่ดี เพราะราคาที่ขายภาคประชาชนหน้าโรงแยกก๊าซอยู่ทุกวันนี้ (333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) เป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนของโรงแยกก๊าซ ซึ่งอยู่ที่ 550 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่ทุกวันนี้ที่โรงแยกก๊าซเขายังอยู่ได้ก็เพราะมีส่วนที่ขายให้อุตสาห กรรมปิโตรเคมีในราคาสูง (590 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) มาถัวเฉลี่ย ทำให้ยังไม่ถึงกับขาดทุน แต่ก็ไม่คุ้มกับการลงทุน ดังนั้นการขับไสไล่ส่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้ไม่มีใครมาถัวเฉลี่ยราคาก๊าซกับภาคประชาชนอีกต่อไป

เห็นได้ว่า ข้อเสนอการแย่งชิงก๊าซแอลพีจีให้ประชาชนใช้ก่อน แล้วไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซนำเข้า นอกจากจะเป็นการทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยแล้ว ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาก๊าซขึ้นราคาอย่างที่เขาโฆษณาให้ประชาชนเชื่อแต่อย่างใด ดังนั้นการแบ่งสันปันส่วนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างคุ้มค่า หรือกลัวว่าถ้าทำอย่างนั้นแล้ว จะไม่มีจุดขายไปปลุกกระแสสังคมให้คนมากดไลค์!!!.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การแย่งชิงทรัพยากรปิโตรเลียม – พลังงานรอบทิศ

Posts related