ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 21 เม.ย.57 กรมพัฒนาธุรกิจได้จัดงานสัมมนาโครงการพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้า ประจำปี 57 เพื่อต้องการเร่งรัดการพัฒนาศักยภาพของสมาคมการค้าไทยให้มีประสิทธิภาพสามารถสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงระหว่างสมาคมการค้าต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 เนื่องจากปัจจุบันมีธุรกิจอีกหลายประเภทยังไม่มีความพร้อมและไม่ตื่นตัวในการปรับตัวกับการทำธุรกิจในตลาดที่ใหญ่มากขึ้น โดยเชิญภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญในตลาดเออีซีมาให้ความรู้เพื่อรับมือกับการเข้ามาของทุนข้ามชาติและการเปิดตลาดเออีซี จี้ธุรกิจจับมือสู้ทุนข้ามชาติ พล.ต.ท.สุวิระ ทรงเมตตา นายกสมาคมโรงไฟฟ้าชีวมวล กล่าวว่า ตามทฤษฎีเมื่อมีการเปิดเออีซีโดยทั้ง 10 ประเทศจะต้องเปลี่ยนจากตลาดเล็กเป็นตลาดใหญ่ขึ้นมีประชากร 600 ล้านคน และต่อไปจะเปรียบเทียบกับสถานการณ์เหล่านี้ของภาคธุรกิจเหมือนกับปลาใหญ่กินปลาเล็ก ดังนั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำเป็นต้องรวมกลุ่มกันเพื่อแข่งขันกับทุนข้ามชาติ ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งแก่สมาคมการค้าต่างๆ จะช่วยธุรกิจคนไทยได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเอสเอ็มอีไทยต้องเร่งพัฒนาศักยภาพให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือพัฒนาให้เป็นเอสเอ็มอีระดับอินเตอร์ที่มีกิจการที่เข้มแข็งในทุก ๆ ประเทศของอาเซียน อย่างไรก็ตามหลังเปิดเออีซี แม้จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการไทยในภาพรวม แต่มีผลเสียสำหรับธุรกิจไทยเช่นกันโดยเฉพาะการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด หากเอสเอ็มอีไทยยังนิ่งเฉย เชื่อว่าในอนาคตธุรกิจไทยหนีไม่พ้นการถูกทุนต่างชาติเทคโอเวอร์แน่นอน ขณะเดียวกันทุนต่างชาติอาจดึงลูกน้องฝีมือดีของผู้ประกอบการไทย โดยการจูงใจด้วยการให้ค่าจ้างที่สูง ซึ่งตรงนี้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องหาแนวทางในการป้องกันไว้ล่วงหน้าด้วย รวมกลุ่มแก้โจทย์เออีซี นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า การเตรียมตัวรับเออีซีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคธุรกิจในกลุ่มนั้น ๆ ต้องรวมตัวกันเพื่อแก้โจทย์แก้ปัญหา และสมาคมต่าง ๆ ควรเปลี่ยนแนวคิดไม่ใช่ให้ตัวแทนจากบริษัทใหญ่มาเป็นประธานหรือนายกสมาคม แต่ควรหาผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจจริง ๆ ที่สามารถนำพาสมาชิกให้อยู่รอดหลังจากการเปิดเออีซี “บทบาทของสมาคมการค้าต้องมีการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งพลิกหาธุรกิจในกลุ่มเดียวกันมารวมกลุ่มให้ได้ ไม่ใช่ปล่อยให้โตอย่างโดดเดี่ยวเพราะจะเสี่ยงต่อการทำธุรกิจหลังเปิดเออีซี เมื่อดึงมารวมกลุ่มได้แล้วจากนั้นต้องหาแนวทางร่วมทุนด้วยกัน ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องให้การช่วยเหลือด้วย” ทั้งนี้แต่ละสมาคมมีสมาชิกจำนวนมาก และมีเงินมากเช่นกัน แต่ไม่มีคนมาทำงานซึ่งสมาคมต้องกลับไปหารือกันว่าจะทำอะไรและจะคิดใหม่ได้อย่างไร โดยเฉพาะการทำยุทธศาสตร์อย่างน้อย 20 ปี เพื่อสามารถวางแผนบริหารธุรกิจของสมาชิกให้ได้ ดังนั้นแต่ละสมาคมจำเป็นต้องพลิกบทบาทให้ได้ ไม่เช่นนั้นสมาชิกจะแข่งขันกันได้ลำบาก จดทะเบียนยี่ห้อสินค้า นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทแบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การเปิดเออีซีถือเป็นโอกาสของธุรกิจคนไทยที่จะขยายกิจการในเพื่อนบ้านได้ง่ายสำหรับผู้ที่มีความพร้อม เพราะที่ผ่านมาภาคธุรกิจในเมืองไทยต้องเผชิญมรสุมมากกว่านี้อีกทั้งเรื่องของผลกระทบของกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มคนเสื้อเหลือง หรือแม้แต่เรื่องของภัยธรรมชาติ ดังนั้นเรื่องการเปิดเออีซีน่าจะไม่มีปัญหาสำหรับธุรกิจคนไทย “สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ เรื่องของการทำเครื่องหมายทางการค้าของแบรนด์ ในกรณีไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เพราะหากไม่ศึกษาให้ดีหรือไม่จดลิขสิทธิ์ประเทศนั้นก่อน อาจมีปัญหาในภายหลังหรือถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้หากผู้ประกอบการประเทศนั้น ๆ ไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่เหมือนกับของเรา ดังนั้นจำเป็นต้องไปจดลิขสิทธิ์ก่อน” ปัจจุบันบริษัทมีสาขาในประเทศไทยประมาณ 260 สาขา และในต่างประเทศ 50 สาขา โดยในอาเซียนยังไม่มีสาขาแบล็คแคนยอนในเวียดนามและบรูไน โดยผลสำเร็จในการขยายสาขาในอาเซียนมาจากมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะการสร้างบุคลากรเพื่อรองรับการขยายงาน เอกชนขัดแย้งกันเอง น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ที่ผ่านมายอมรับว่าสมาคมการค้าหลาย ๆ องค์กร ยังมีปัญหาอีกมาก เช่น หลายแห่งมีความซับซ้อน การทำงานไม่มีความต่อเนื่องเกี่ยวกับบริหารงาน รวมถึงการเกิดความขัดแย้งกันหรือการขัดผลประโยชน์กัน ดังนั้นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเร่งดำเนินการส่งเสริมให้สมาคมการค้าสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกันในการรองรับการเข้าสู่เออีซีและการแข่งขันในตลาดการค้าโลก “กรมฯได้ดึงหอการค้าไทยมาเป็นที่ปรึกษาในการทำแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมการค้าเพื่อเป็นต้นแบบและทิศทางในการพัฒนาภาคธุรกิจรายสาขาและสมาชิกของสมาคม รวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายสมาคมการค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหากสมาคมการค้าที่ปัจจุบันมี 2,996 สมาคม มีความเข้มแข็งก็จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ทั้งหมดเป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วภาคเอกชนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องร่วมมือร่วมใจที่จะรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เพื่อรับมือกับทุนข้ามชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามารุกตลาดไทยหลังเปิดเออีซี ก่อนถูกเพื่อนบ้านเทคโอเวอร์!. มนัส แวววันจิตร
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กูรูแนะธุรกิจไทยรวมกลุ่มเพิ่มความแกร่งรับมือตปท.
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs