นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเปิดเวทีระดมความเห็นร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานน้ำตาล และชาวไร่อ้อย เพื่อสรุปแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายตามแผนพัฒนา 8 ปี รวมถึงการปรับโครงสร้างอ้อยและน้ำตาลทั้งระบบ ถือเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เพื่อสรุปประเด็นเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้ได้ภายในส.ค.นี้ทั้งนี้ในปัจจุบันตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและนำ้ตาล จะมีการเพิ่มผลผลิตอ้อย ทำให้โรงงานน้ำตาลทรายหลายรายยื่นขอย้าย และขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งที่รอการพิจารณามี 10 ราย ซึ่งการอนุมัติให้นั้นต้องรอสรุปปัญหาทั้งหมด โดยเฉพาะระยะห่างที่ตั้งโรงงานให้ได้ก่อน เพราะขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาก โดยโรงงานบางส่วนต้องการให้ลดระยะห่างของโรงงานน้ำตาลระหว่างกันจากหลักเกณฑ์เดิม 80 กม.ให้เหลือ 50 กม. หรือบางรายให้ยกเลิกการกำหนดระยะห่างออกไปให้ชัดเจนแหล่งข่าวจากโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดจัดสัมมนาวันที่ 16 ส.ค.นี้ แต่ได้เลื่อนออกไป เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมในเรื่องข้อมูลรายละเอียดที่ตรงกัน หากเปิดเวทีเพื่อที่จะสรุปในวันดังกล่าว จะใช้เวลาไม่เพียงพอ และกลายเป็นเวทีถกเถียงกัน และไม่มีข้อสรุป โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือระยะห่างโรงงาน รวมถึงการปรับโครงสร้างราคาที่รายละเอียดระหว่างโรงงานและชาวไร่ยังไม่ได้ข้อสรุปตรงกันอย่างไรก็ยอมรับว่า ปัจจุบันโรงงานน้ำตาล ยังไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ถึงระยะห่างโรงงานน้ำตาลว่าเท่าไร จึงจะเหมาะสม ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กำหนด คือ อาจกำหนดให้เป็นเงื่อนไขพิเศษกรณีต่ำกว่า 80 กม. คือ จะต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย ต้องมีปริมาณอ้อยขั้นต่ำที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งหากยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวได้ปัญหาก็จะได้จบลงเพื่อให้การขยายโรงงานใหม่และเก่าที่ติดเงื่อนไขนี้เดินหน้าได้“บางส่วนติดเงื่อนไขระยะห่างไม่ถึง 80 กิโลเมตร เช่น โรงงานน้ำตาลตั้งใหม่ที่จังหวัดเลย ของบริษัทน้ำตาลขอนแก่น และโรงงานกลุ่มมิตรผล ซึ่งที่ผ่านมาจุดยืนของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลต้องการยึดมติครม.เดิมที่ต้องห่างกัน 80 กม.แต่ในเมื่อ 2 โรงงานถูกฝ่ายราชการอนุมัติและตั้งโรงงานแล้ว จึงต้องถามฝ่ายราชการว่าปล่อยมาได้อย่างไร ซึ่งขณะนี้โรงงานที่เตรียมขอย้ายและขยายโรงงานใหม่เขาก็ถามว่าที่ผ่านมายังอนุมัติไปได้แล้วแต่ของใหม่เหตุใดต้องรอกติกาให้ชัดก่อนซึ่งไม่เป็นธรรม”นายสมศักดิ์ สุวัฒิกะ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาทราย กล่าวว่า ในฤดูการผลิต 56/57 ไทยมีผลผลิตอ้อยสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 103.66 ตัน และผลิตน้ำตาลได้ 11.29 ล้านตัน หรือ 110 ล้านกระสอบ ค่าความหวานก็ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 12.56 ซี.ซี.เอส.จากปีก่อนหน้า 10 ซี.ซี.เอส. ส่วนฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะมาถึง คือ 57/58 นั้น คาดว่าปริมาณผลผลิตอ้อยก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 103 ล้านตันอ้อย เนื่องจากจะมีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามนโยบายเปลี่ยนนาข้าวเป็นไร่อ้อย โดยคาดว่า พื้นที่ปลูกอ้อยจะเพิ่มเป็น 12 ล้านไร่ จาก 10 ล้านไร่ ในฤดูกาล 56/57 ขณะค่าความหวานก็จะดีขึ้น เพราะได้พัฒนาพันธุ์อ้อยอย่างต่อเนื่องแหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่า ยอดขายน้ำตาลทรายปีนี้ ถือว่า ไม่ดีนัก ทำให้มีน้ำตาลค้างกระดานอยู่กว่า 3 ล้านกระสอบ เทียบกับระดับค้างกระดานปกติที่อยู่ที่ 1.8-2 ล้านกระสอบ โดย เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้อุตสาหกรรมที่มีน้ำตาลเป็นวัตถุดิบทั้งอาหารและเครื่องดื่มมีความต้องการลดลง ส่งผลต่อปริมาณการบริโภคน้ำตาลโดยรวมของทั้งประเทศเนื่องจากในปริมาณโควตาน้ำตาลขายในประเทศ หรือโควตาก. ที่ 2.5 ล้านตัน หรือ 25 ล้านกระสอบนั้นกว่า 80% เป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม เป็นการบริโภคในครัวเรือนเพียง 20%

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ก.อุตฯ ระดมสมองถกรื้อระบบอ้อย

Posts related