แต่ละปีประเทศไทยต้องประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากร ชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมาก ประชากรในแต่ละภาคล้วนประกอบอาชีพตามลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ อาทิ การเลี้ยงสัตว์ของกลุ่มประมง การปลูกพืชผลไม้ดอกไม้ประดับ การทำเกษตรกรรม เป็นต้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตสินค้าในกลุ่มเกษตรกรได้มากมาย แต่สิ่งที่สูญเสียไปกับภัยธรรมชาติก็ถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงมาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ร่วมมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการข้อมูลสำหรับแจ้ง เตือนภัยด้านการประมงระยะเวลา 5 ปี (2556-2560) เพื่อบูรณาการข้อมูลและเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการเตือนภัย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เล่าว่า ถือเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะชาวเกษตรกร ในการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ล่วงหน้า พร้อมรับสถานการณ์ได้ทัน อีกทั้ง ยังช่วยลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ถือเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้าน งบประมาณของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ประสบภัยด้านการประมงด้วย ทั้งนี้ กระทรวงไอซีที จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติธรรมชาติให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้น เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ไฟป่า รวมถึงสึนามิ ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสีย ต่อการประกอบอาชีพด้านการประมง รวมถึงสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ มีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เป็นผู้สนับสนุน ได้แก่ ศูนย์เตือน ภัยพิบัติแห่งชาติ, สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทร คมนาคม จำกัด (มหาชน) ร่วมกันใช้เทคโนโลยีของแต่ละหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลให้แก่กัน “ศูนย์เตือนภัยฯ จะทำหน้าที่ในการแจ้งเตือน เฝ้าระวัง แก่เกษตรกร ซึ่งหากทางศูนย์เตือนภัยฯ สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภัยพิบัติธรรมชาติได้อย่างครบถ้วนจะทำให้การทำงานระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความสมบูรณ์ ลดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจและเกษตรกรได้” ด้าน นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่าว่า ปีนี้กรมประมงได้สำรวจจัดเก็บข้อมูลพิกัดฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวนกว่า 5 แสนฟาร์ม การตรวจสอบและการพยากรณ์การเกิดภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเตือนภัยล่วงหน้าให้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ได้อย่างทันเหตุการณ์ โดยระยะเวลาโครงการได้มีแผนสร้างองค์ความรู้ในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีการถ่ายทอดความรู้ ฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย อาทิ เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย ชาวประมง ประมงอาสา เป็นต้น ทั้งนี้ จะคัดเลือกจังหวัดต้นแบบ 1 จังหวัด จากนั้น จะขยายผลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ถือเป็นช่องทางหนึ่งทำให้เกษตรกรและชาวประมงแต่ละพื้นที่สามารถเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์ได้ทัน หวังว่าการบูรณาการข้อมูลครั้งนี้ จะช่วยให้ชาวประมงได้รู้ทันภัยพิบัติ ลดความเสี่ยงทั้งจากการลงทุน ชีวิต ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศชาติได้. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ก.ไอซีที บูรณาการข้อมูลพื้นที่การเกษตรช่วยพยากรณ์อากาศ หวังลดการสูญเสีย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs