รศ. ดร. อมร พิมานมาศรองเลขาธิการสภาวิศวกร และอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยโครงการ “ศึกษาวิธีการออกแบบและเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว”โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ที่ อ.พาน จ.เชียงรายเมื่อวันที่ 5พฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างบ้านเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารบ้านเรือนหลังเล็กๆ ซึ่งการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานไม่มีวิศวกรมาออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ทำให้โครงสร้างบ้านไม่แข็งแรง จึงนำเสนอ10 แนวทางการออกแบบอาคารในเขตเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำได้ไม่ยากและเหมาะกับการก่อสร้างในบ้านเรา ประกอบด้วย 1) วัสดุก่อสร้างต้องได้มาตรฐานคอนกรีตต้องมีกำลังรับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 240 กก.ต่อตารางเซ็นติเมตรหรือมากกว่านั้น เหล็กเส้นต้องเป็นเหล็กได้มาตรฐาน มี มอก. รองรับการใช้คอนกรีตที่ด้อยคุณภาพหรือเหล็กไม่เต็มเส้นจะทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรง 2)เสาบ้านต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 20 ซม. เสาที่มีขนาดใหญ่ยิ่งต้านแผ่นดินไหวได้ดีเพราะเสาเป็นโครงสร้างหลักที่ต้องต้านแผ่นดินไหว หากเสาเล็กเกินไปอาจทำให้โครงสร้างอาคารไม่แข็งแรงและพังถล่มได้โดยง่าย 3)เหล็กเส้นในเสาต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 4 เส้น และมีขนาดไม่ต่ำกว่า 12 มม. 4)เสาทุกต้นต้องเสริมเหล็กปลอก โดยเหล็กปลอกต้องพันเป็นวงรอบเหล็กแกนเหล็กปลอกที่ใช้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. หากใช้เหล็กขนาด 9 มม. ได้ยิ่งดีและต้องพันเหล็กปลอกให้ถี่ๆโดยเฉพาะที่โคนเสาและปลายเสาด้านบนต้องวางเหล็กปลอกจำนวนอย่างน้อย 10 วง ในระยะ 50ซม. วัดจากปลายด้านบนและปลายด้านล่างของเสาทุกต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสาชั้นล่างสุดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 5)ข้อต่อหรือบริเวณที่คานและเสามาบรรจบกันจะต้องเสริมเหล็กปลอกเช่นกันโดยต้องใช้เหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. จำนวนไม่น้อยกว่า 4เส้นพันรอบเหล็กแกนในบริเวณข้อต่อ 6) คาน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญหากสามารถพันเหล็กปลอกที่บริเวณปลายคานให้ถี่ๆ ได้ จะทำให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้น 7)หลีกเลี่ยงการต่อเติมส่วนต่างๆ ของโครงสร้างเอง เช่นการต่อเติมชั้นลอยอาจทำให้เสาปกติกลายเป็นเสาสั้นและอาจทำให้ถูกเฉือนขาดได้ง่าย 8)ต้องระวังการก่อสร้างบ้านที่ชั้นล่างเปิดโล่งแนวทางป้องกันควรทำค้ำยันไม้หรือเหล็กจากมุมล่างของเสาต้นหนึ่งไปยังมุมบนของเสาต้นถัดไปเป็นรูปกากบาทจะทำให้ชั้นที่เปิดโล่งนั้นมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นไม่พังถล่มลงมา 9)การก่อกำแพงอิฐต้องก่อให้ตลอดความสูงของเสา ห้ามปล่อยให้มีช่องว่างเพราะจะทำให้เกิดการเฉือนขาดได้ง่ายๆ 10) ในการก่อสร้างบ้านที่แข็งแรงนั้นควรมีวิศวกรโยธาเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ข้อแนะนำวิธีสร้างบ้านในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs