นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการสัมมนาอนาคตอี-เฟรท และพอร์ท คอมมูนิตี้ ซิสเต็มส์สำหรับประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่เออีซีว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการอิเล็กทรอนิกส์ของ ประเทศ (กบส.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาและจัดทำแนวทางพัฒนาระบบการเชื่อมโยง ข้อมูลด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างผู้ประกอบการขนส่งเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการขนส่ง ทางน้ำ ทางอากาศ และการขนส่งผ่านด่านชายแดน“การศึกษานี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการแข่งขันหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 เพราะหากเปิดเสรีแล้วจะทำให้เกิดการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน และธุรกิจการบริการการขนส่งระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ที่สำคัญการนำระบบไอทีมาใช้ จะช่วยลดการใช้เอกสาร และเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันได้ด้วย โดยเฉพาะการแข่งขันด้านอากาศที่จะต้องเร่งศึกษาก่อนเพราะจะมีการแข่งขันกันสูงมาก”นายวรเดช กล่าวว่า กรมการบินพลเรือน ยังได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาศึกษารายละเอียด เกี่ยวกับพื้นที่เขตปลอดภาษีหรือฟรีโซนในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโครงการโลจิสติกส์พาร์คด้วย หลังพบว่าปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการเขตฟรีโซนเพียง 30% จากเป้าหมายการขนส่งสินค้าที่ตั้งไว้ 3 ล้านตันต่อปีทั้งนี้สาเหตุหลักที่มีผู้ใช้บริการน้อย เนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (บีเอฟเอส) ได้รับสัมปทานจาก ทอท.ในราคาที่สูง ส่งผลให้ต้องมีการจัดเก็บค่าบริการสูงตามไปด้วย ดังนั้นต่อไปจะต้องปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านขนส่งทางอากาศในเขตพื้นที่ฟรีโซน คาดจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค.นี้ และเสนอให้กระทรวงคมนาคม และ ครม. พิจารณาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการต่อไป“หลังจากรับฟังความคิดเห็น พบปัญหาหลายด้านทั้งเรื่องกฎระเบียบ การบูรณาการ การสร้างกลไกติดตามงาน ซึ่งบริษัทจะศึกษาข้อมูลเพื่อแจกแจงข้อบกพร่องใ ห้กรมการบินพลเรือนรับทราบ ทั้งการแก้กฎระเบียบ การบริหารจัดการตลาด รวมทั้งการดึงกลุ่มสินค้าเป้าหมาย เช่น กลุ่มเวชภัณฑ์ กลุ่มสินค้าแบรนด์เนมเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ฟรีโซน นอกจากนี้บริษัทที่ปรึกษาจะศึกษาทางเลือกพื้นที่ฟรีโซนนอกสนามบินในอนาคต หากพื้นที่ฟรีโซนภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเต็มขีดความสามารถ”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คมนาคมดันใช้อิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาขนส่ง

Posts related