นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อพิจารณาถึงแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในโครงการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งของประเทศกับกระทรวงคมนาคม ว่า หลังจากนี้ต้องรอข้อสรุปจากการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณอีกทีว่าแต่ละหน่วยงานมีความต้องการใช้เงินเพื่อลงทุนในโครงการตามแผนลงทุนในปีงบประมาณ 58 เท่าไหร่ และงบประมาณที่สำนักงบเตรียมไว้จะสามารถรองรับได้แค่ไหน ส่วนที่เหลือจะต้องเป็นเงินกู้จากทาง สบน. อีกเท่าไหร่ โดยทั้งหมดจะต้องได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเพื่อนำเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาในวันที่ 19 มิ.ย.57 สำหรับกรอบการกู้เงินตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หนี้สาธารณะ ปี 58 มีเพดานสูงสุด อยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ 58 ที่ 2.575 ล้านล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 20% ของบประมาณรายจ่าย และการค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ 20% ของงบประมาณรายจ่าย และการกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อีก 10% ของงบประมาณรายจ่าย “เรายังบอกไม่ได้ว่าปีงบประมาณ 58 จะกู้เงินให้แต่ละหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมเท่าไหร่ คงต้องรอข้อสรุปอีกครั้ง แต่เบื้องต้นทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ความเห็นว่า บางโครงการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้การกู้เงินทั้งหมด แต่ควรดึง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อให้เอกชนมาร่วมลงทุนกับรัฐมากกว่า” นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข. ได้หารือกับกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ถึงยุทธศาสตร์การลงทุนด้านคมนาคมขนส่งตั้งแต่ปีงบประมาณ 58 ถึง ปีงบประมาณ 65 ซึ่งแบ่งเป็น 5 ยุทธ์ศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ลงทุนรถไฟ ยุทธศาสตร์ลงทุนรถไฟฟ้า ยุทธศาสตร์ลงทุนด้านถนน ยุทธศาสตร์ลงทุนคมนาคมด้านน้ำ และยุทธศาสตร์ลงทุนคมนาคมด้านอากาศ ซึ่งจะต้องมีการจัดความสำคัญของการลงทุนว่าโครงการไหนทำก่อนหรือหลัง ทั้งนี้ เดิมการลงทุนทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ มีมูลค่าโครงการทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท แต่ขณะนี้ได้มีการตัดโครงการรถไฟความเร็วสูงออกไป ไม่ได้อยู่ในแผนที่จะดำเนินการตามยุทธ์ศาสตร์ที่ดำเนินการล่าสุด ทำให้มูลค่าลงทุนโครงการทั้งหมดอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท สำหรับโครงการที่มีความพร้อมที่จะลงทุนในปีงบประมาณ 58 ประกอบด้วย รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าเส้นสายสีส้ม สีชมพู และสายสีเหลือ นอกจากนี้ยังมีโครงการแอร์พอร์ตลิ้งก์ส่วนต่อขยายไปสนามบินดอนเมือง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาว่าแหล่งเงินที่จะมาลงทุนโครงการดังกล่าว ส่วนไหนจะมาจากเงินงบประมาณ และส่วนไหนจะมาจากเงินกู้ ขณะที่โครงการที่เหลือทั้งหมด ก็ต้องมีการพิจาณาว่าจะลงทุนปีไหน วงเงินที่ต้องใช้และแหล่งเงินทุนจะมาจากไหน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของโครงการ จากเงินงบประมาณ และเงินกู้ ซึ่งจะต้องทำการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้การกู้เงินไม่เกินความยั่งยืนของกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลอยู่
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คมนาคมถกสำนักงบฯหาแหล่งเงินทุน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs