นายสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ย.ทีผ่านมา ได้ไปชี้แจงรายละเอียดกฎหมายที่เตรียมนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ให้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม รับทราบ มีร่างกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศพ.ศ. … ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.ปัจจุบันที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2521ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลังพบว่าระยะหลังมีผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยานเพิ่มขึ้นถึง5 เท่าตัว จากปี 38 มีสถิติกว่า 1,000กว่ารายต่อปี เพิ่มเป็น 5,000 รายในปัจจุบัน ทั้งนี้สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.จะครอบคุลมไปถึงการยึดอากาศยานการทำลายอากาศยาน หรือทำลายสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานที่ให้บริการพลเรือน รวมทั้งได้เพิ่มเติมการประพฤติตนที่ไม่เหมาะสมในอากาศยานเช่น การสูบบุรีในห้องน้ำ ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ใช้วาจาไม่สุภาพ ลวนลามเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานและกระทำอนาจารบนเครื่องบิน เป็นต้น สำหรับกรณีความผิดที่เกิดในอากาศยานไทยและอากาศยานต่างประเทศให้เป็นอำนาจของนักบินในการควบคุมตัวผู้กระทำความผิด รวมถึงการนำตัวบุคคลลงจากอากาศยานไทยการรับและส่งตัวบุคคลผู้กระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจนอกจากนี้ยังกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในอากาศยานเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในอากาศยาน ตลอดจนกำหนดให้การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรต้องรับโทษในราชอาณาจักรไทยด้วย นางสร้อยทิพย์กล่าวต่อว่า ยังเสนอร่าง พ.ร.บ.การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศพ.ศ. … เพื่อให้มีกฎหมายบังคับใช้โดยตรง จากปัจจุบันที่ใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยจะเพิ่มความรับผิดชอบการคุ้มครองผู้โดยสารผู้ประกอบการในการชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็นธรรมและรวดเร็วขึ้น เช่น กรณีถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ไม่จำกัดจำนวน ซึ่งค่าเสียหายแรกประมาณไม่เกิน5.5 ล้านบาทต่อคน กรณีเครื่องบินล่าช้า(ดีเลย์)ผู้โดยสารเรียกร้องค่าเสียหายได้ไม่เกิน231,000 บาท กรณีสัมภาระถูกทำลาย สูญหายเสียหายหรือล่าช้า สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ไม่เกิน 55,700บาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีร่างพ.ร.บ.การรับขนคนโดยสารทางถนนระหว่างประเทศพ.ศ. … ซึ่งเป็นความตกลงของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อกำหนดขอบเขตความรับผิดให้ชัดเจนมากขึ้นเพราะปัจจุบันก็ยังใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ ตัวอย่าง กรณีผู้โดยสารตายหรือบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจกำหนดความรับผิดชอบไว้ไม่เกิน 432,000 บาท กรณีสัมภาระสูญหายหรือเสียหายกำหนดไว้ไม่เกิน 8,000 บาท โดยร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3ฉบับดังกล่าว เมื่อผ่าน สนช. 3วาระแล้วก็สามารถประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้ทันที
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คมนาคมแจงรายละเอียด 3 พ.ร.บ.
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs