นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลออกกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาล เพราะต้องการแก้ปัญหาโครงสร้างภาษีด้านการถือครองทรัพย์สิน ลดการกักตุน และเก็งกำไรที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินมากขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการมีส่วนรวมของประชาชนทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์เร่งดำเนินการ และตรวจสอบราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งประเทศ เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสำรวจที่ดินได้เพียง 7 ล้านแปลง จาก 30 ล้านแปลงทั่วประเทศเท่านั้น ทำให้ข้อมูลในปัจจุบันที่มีอยู่ ยังไม่สามารถเชื่อมโยงและครอบคลุมที่ดินได้ทุกแปลง หากกรมธนารักษ์ทำไม่ได้ก็ต้องจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนทันทีอย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังกำลังเตรียมความพร้อม ทั้งข้อมูลทรัพย์สิน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด โดยจะพัฒนาข้อมูลที่ดินทั้งประเทศ ให้เป็นแผนที่ดิจิตอล เชื่อมโยงข้อมูลที่ดินทะเบียนทุกแปลงทั้งประเทศ การจัดทำรายการบัญชี และประเมินมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง การกำหนดอัตราภาษีที่เก็บจริง ออกกฎหมายรองที่เกี่ยวข้อง และเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน เบื้องต้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะแบ่งจากการใช้ประโยชน์ เช่น ประกอบเกตรกรรม เพดานภาษี 0.5%, ที่อยู่อาศัย 1% และพาณิชกรรม 4% เป็นต้นขณะที่การเก็บภาษีมรดกเพื่อกระจายความมั่งคั่งของคนในประเทศ เพราะคนในประเทศ 20% ที่มีฐานะรวย หรือ 14 ล้านคน ถือครองทรัพย์สิน 70% ของประเทศ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และยังเพิ่มรายได้เพื่อไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ทำให้สัดส่วนเก็บภาษีจากฐานทรัพย์สินที่ปัจจุบัน 1% เพิ่มขึ้นสูง ขณะเดียวกันการเก็บภาษีมรดกจะมีการกระจายทรัพย์สิน โดยเฉพาะที่ดินทำให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจมากขึ้นสำหรับการเก็บภาษีมรดก จะเก็บจากผู้รับ และจะเก็บอัตราเดียว 10% ในส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท ขึ้นไป ตามที่นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้ จะเก็บภาษีมรดกอัตราเดียวไม่ได้เก็บแบบอัตราก้าวหน้า โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ โดยทรัพย์มรดกที่ต้องเสียภาษี จะเป็นทรัพย์ที่จดทะเบียน ได้แก่ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หุ้น เงินฝากตราสารทุน ตราสารหนี้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คลังจี้ธนารักษ์ตรวจราคาที่ดินทั่วประเทศ

Posts related