นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ด้านการคลังปีงบประมาณ 57 ที่มีนายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เพื่อติดตามข้อมูลครึ่งปีที่ผ่านมา และกำหนดรูปแบบการทำงานรายความเสี่ยงด้านการคลัง ซึ่งมีทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาล รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหา ซึ่งจะมีการทำงานฉบับสมบูรณ์ในปลายปีงบประมาณนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลครึ่งปีที่ผ่านมา ยังไม่มีอะไรที่เป็นความเสี่ยงกับฐานะการคลัง แม้ว่าเศรษฐกิจครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้น้อย แต่คาดว่าเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะขยายตัวได้ดี ส่วนความเสี่ยงการคลังที่เกิดจากรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหา ขณะนี้ได้ดำเนินแก้ไขจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงได้ติดตามข้อมูลเพื่อมาปรับปรุงทำเป็นรายงานความเสี่ยงทางการคลังตอนสิ้นปีงบประมาณอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม รายงานความเสี่ยงทางการคลังประจำปีงบประมาณ 56 ของ สศค. ประมาณการฐานะการคลังระยะปานกลางและประเมินความเสี่ยงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อฐานะการคลังระยะปานกลาง ตั้งแต่ปี 57-63 โดยประมาณการว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ปีละ 4.5% โดยมูลค่าจีดีพีจากปี 57 อยู่ที่ 12.8 ล้านล้านบาท จะเพิ่มเป็น 19.8 ล้านล้านบาท ในปี 63 ส่วนด้านรายได้จะเพิ่มจาก 2.27 ล้านล้านบาท ในปี 57 เป็น 3.58 ล้านล้านบาท ในปี 63 ขณะที่รายจ่ายจาก 2.52 ล้านล้านบาท ในปี 57 จะเป็น 3.58 ล้านล้านบาท ในปี 63 ซึ่งเป็นปีแรกที่งบประมาณเข้าสู่สมดุล หลังจากเป็นงบประมาณจาดดุลมานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ยังประเมินหนี้สินของประเทศจาก 5.91 ล้านล้านบาท หรือ 47.1% ของจีดีพี ในปี 57 จะเป็น 8.85 ล้านล้านบาท หรือ 47.3% ของจีดีพี ในปี 63 แม้ว่าจำนวนหนี้จะเพิ่มขึ้นมาก แต่มูลค่าจีดีพีเพิ่มทำให้สัดส่วนหนี้ลดลง อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าว มีการร่วม พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่เป็นโมฆะไปแล้ว รวมถึง พ.ร.ก.เงินกู้บริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท ที่ฝ่ายนโยบายยังไม่ตัดสินใจว่าจะให้กู้ต่อไปหรือไม่ ขณะเดียวกัน สศค. ได้ประเมินความเสี่ยงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อฐานะการคลังระยะปานกลาง โดยประเมินในกรณีสถานการณ์ดีขึ้น หากเศรษฐกิจในปี 58-63 ขยายตัวได้ปีละ 6.5% จะทำให้นี้สาธารณะของประเทศไม่เพิ่มสูงมาก โดยปี 63 หนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 7.01 ล้านล้านบาท หรือ 34.2% ของจีดีพี หากกรณีที่สถานการณ์แย่ลง เศรษฐกิจปี 58-63 ขยายตัวได้ปีละ 2.5% จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 10.9 ล้านล้านบาท หรือ 59.8% ของจีดีพี ใกล้กับกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของจีดีพี ขณะที่ความเสี่ยงทางการคลัง ที่เกิดจากรัฐวิสาหกิจ คาดว่า จะต้องเข้าไปรับความเสียหายจากดำเนินการรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ขาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีขาดทุนสะสม 70,000 ล้านบาท การไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีขาดทุนสะสม 37,000 ล้านบาท และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีขาดทุนสะสม 86,000 ล้านบาท นอกจากนี้ รายงานมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ว่า รัฐบาลควรบริหารเศรษฐกิจยังยืดหยุ่น หากเศรษฐกิจถดถอย ควรดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว โดยการลดภาษี เพิ่มรายจ่าย แต่หากเศรษฐกิจขยายตัวดี ก็ควรเพิ่มภาษี และลดรายจ่าย รวมถึงรัฐบาลควรควบคุมรายจ่ายประจำโดยการควบคุมเป็นสัดส่วนต่องบประมาณรวม รวมทั้ง รัฐบาลควรเน้นการลงทุนไม่ควรต่ำกว่า 25% ของงบประมาณ หากไม่สามารถเพิ่มงบลงทุน ก็ควรให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน รวมถึงให้รัฐบาลกำหนดขอบเขตภาระการคลังที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาล ให้เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษี และเพิ่มความน่าเชื่อถือของกรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดยออกกฎหมายมารองรับ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คลังตามติดบริหารความเสี่ยง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs