นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐในปี57จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.275ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหนักใจมากเพราะตามภาวะปกติการจัดเก็บรายได้ในวงเงินดังกล่าวนั้น สามารถดำเนินการได้โดยไม่ยากเย็น แต่เมื่อมีปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้น ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวหายไป ตั้งแต่ไตรมาส4 ปี56ซึ่งเป็นไตรมาสแรกตามปฏิทินปีงบประมาณ57อย่างไรก็ตาม แม้รายรับจะลดลง แต่ไม่ห่วงเรื่องการขาดดุลงบประมาณ เนื่องจากรายจ่ายภาครัฐจะลดลงไปด้วย ตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการต่าง ๆ ที่ชะลอลง เพราะต้องมีครม.ที่มีอำนาจเต็มในการอนุมัติโครงการที่มีขนาดใหญ่ก่อน“ผมคงไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดอะไรแทนรัฐบาลหน้าเดี๋ยวจะไปก้าวก่าย แต่คงเป็นภาระหนักของครม.ใหม่ ที่ต้องสื่อสารให้ได้ และต้องตั้งหลักเรื่องรายรับใหม่ ซึ่งผมคิดว่า ขณะนี้เศรษฐกิจอยู่ในภาวะอันตราย และความอันตรายเริ่มเห็นชัดขึ้นในอัตราเร่ง ดังนั้นต้องไปประมาณการเป้าหมายรายรับตั้งต้น คิดกันใหม่ส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวลดลงเท่าไหร่นั้น ผมไม่ขอให้ความเห็น แต่เห็นว่าเศรษฐกิจเป็นพลวัตร เมื่อเศรษฐกิจจะแย่ ค่าเงินจะอ่อนลงให้ช่วยเรื่องการส่งออก เมื่อถึงเวลานั้นจะคลายกังวลเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจลงไปได้บ้าง แต่อาจจะทุกข์ใจเรื่องเงินเฟ้อแทน”ส่วนการจัดทำงบประมาณปี58 นั้น ต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งล่าสุดหน่วยงานราชการได้เตรียมคำขอไว้แล้วแต่ที่น่าเป็นห่วงคือ กระทรวงคมนาคม เพราะเดิมรัฐบาลมีเป้าหมายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่แยกออกจากงบประมาณประจำปีอย่างชัดเจน แต่เมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมา จึงทำให้กลับไปใช้งบประมาณประจำปี ทำให้ต้องดูว่าจะไปกระทบกับงบประมาณอื่นแค่ไหนทั้งนี้กระบวนการจัดทำงบประมาณปี58ที่ล่าช้า คงไม่รุนแรงเกินไป เพราะเมื่อเทียบกับการจัดทำงบประมาณปี55ที่มีการเลือกตั้งในช่วงต้นเดือน ก.ค.54แล้วรอคำรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รอแถลงนโยบายรัฐสภา กว่าจะเริ่มได้ก็ปลายเดือน ก.ย.54ประกอบการการเกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่ก็ทำให้งบประมาณประจำปีผ่านกระบวนการทั้งหมด และใช้ได้ในต้นเดือน มี.ค.55แทนที่จะได้เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.54ซึ่งตอนนี้กระบวนการต่าง ๆยังอยู่ในช่วงเดือนมี.ค. จึงหวังว่าจะงบประมาณปี58คงไม่ล่าช้าเหมือนที่เกิดขึ้นในปี55“ตอนนี้กลุ่มสถาบันการเงินของต่างประเทศหลายแห่งได้เข้ามาพบต้องขอบคุณบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเครดิตเรทติ้งต่าง ๆที่ยังคงอันดับประเทศไทยไว้แต่จะสังเกตเห็นว่าที่เขาคงอันดับไว้ มักมีข้อสังเกตที่เป็นข้อห่วงใยว่า ถ้าเกิดไม่แก้ไขเรื่องนี้ เรื่องนั้น ในเวลาอันเหมาะสมหรือเกิดความเบี่ยงเบนทางลบรุนแรง อาจกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือก็ได้บางแห่งก็อาจบอกว่า แต่เดิมนักลงทุนตั้งใจขยายการดำเนินการ เพราะประเทศเราอยู่ในทำเลที่ตั้งอันเป็นศูนย์กลางอาเซียนมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ แต่บางรายก็พูดตรง ๆ ว่าตอนนี้คงไม่ขยายผมก็มีหน้าที่ถามว่าไม่ขยายจะลดหรือเปล่า ส่วนใหญ่ก็ตอบว่ายังส่วนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือผมถามว่า จะลดอันดับประเทศไทยลงไหม เขาตอบว่าถ้าการเมืองไม่ยืดเยื้อก็ไม่ต้อง แต่ถ้ารุนแรงขึ้นมาเขาปรับลดก็ไปโทษเขาไม่ได้”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คลังรับรายได้รัฐพลาดเป้า
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs