นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันในปี 57 ของไทยว่า ในปี 57 เงินใต้โต๊ะหรือเงินเพิ่มพิเศษที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจกับภาครัฐต้องจ่ายจ่ายแก่ข้าราชการ หรือ นักการเมืองเพื่อให้ได้สัญญาเฉลี่ยที่ 15-25% ของโครงการ หรือคิดเป็นเงิน 150,763 – 251,272 ล้านบาท ลดลงจากปี 53-56 เอกชนต้องจ่าย 25-35% คิดเป็นเงิน 251,272 – 351,781 ล้านบาท หรือลดลง 100,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์เรื่องคอร์รัปชันในไยเริ่มลดลง ส่วนหนึ่งมาจากการรณรงค์ของหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชน และการเข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจังของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) “เป็นการสำรวจในช่วงเดือน มิ.ย. 57 ซึ่งเป็นเดือนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งตัวเลขต่างๆที่ออกมาค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องที่ดีมากขึ้นในมุมมองของข้าราชการ นักธุรกิจ และภาคประชาชน ซึ่งปริมาณของเงินใต้โต๊ะที่ลดลงตามโครงการต่างๆ พบว่าเงินดังกล่าวก็จะกลับไปสะท้อนที่เนื้องานให้มีคุณภาพมากขึ้น” ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าแนวทางในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่ดีที่สุด เช่น ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้มีบทลงโทษต่อผู้กระทำผิดอย่างหนักไม่ว่าจะเป็นให้ออกจากราชการ ยึดทรัพย์ จำคุกตลอดชีวิต ประหาร พร้อมทั้งดำเนินการอย่างจริงจังและเคร่งครัด ขณะเดียวกันก็ให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชันมากขึ้น หรือจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบโดยภาคประชาชน นอกจากนี้ควรปลูกจิตสำนึกและสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ข้าราชการ นักการเมือง ประชาชนและเยาวชนในเรื่องของการทุจริต, ควรมีการเปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆ อย่างโปร่งใสชัดเจน และต่อเนื่องอย่างโปร่งใส และ รณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ แก่ประชาชนให้ทราบถึงองค์ความรู้ ถึงลกระทบของการคอร์รัปชัน สำหรับผลสำรวจดัชนีสถานการ์คอร์รัปชันไทยเดือน มิ.ย. โดยรวมอยู่ที่ 46 คะแนน (สถานการณ์อยู่ในระดับปานกลาง) เพิ่มขึ้นจาก 39 คะแนน (สถานการณ์อยู่ในระดับรุนแรง) ในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนธ.ค.56ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ถือเป็นค่าดัชนีสูงสุดในรอบ 5 ปีหรือตั้งแต่ปี 53 ที่มีการสำรวจดัชนีนี้หรือดีที่สุดที่มีการสำรวจ “ดัชนีที่สูงขึ้นในทุกตัวแสดงให้เห็นว่าปัญหาความรุนแรงของคอร์รัปชันในไทยเริ่มน้อยลง มีการห้องกันเรื่องนี้กันอย่างจริงจริงมากขึ้น และที่สำคัญผู้เกี่ยวข้องมีการปราบปรามเข้มข้นและประชาชน ข้าราชการ นักธุรกิจ มีจิตสำนึกที่ดีขึ้นกว่าเดิม” นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการให้มีศาลฏีกา แผนกที่มีการตัดสินคดีเกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชันโดยเฉพาะและไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 ปีต่อคดี เชื่อว่าจะแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ในเมืองไทยได้แน่นอน เนื่องจากในอดีตบางคดีต้องใช้เวลาในการตัดสินเป็น 10 ปี ซึ่งบางครั้งคู่ความก็เสียชีวิตไปแล้ว ทั้งนี้ภาคเอกชนต้องการให้ คสช. ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพราะเห็นจากข้อมูลแค่การเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. 1 เดือนสามารถลดปัญหาการเรียกเงินใต้โต๊ะประมาณ 10% หรือ 100,000 ล้านบาทได้แล้ว ซึ่งหากมีการดำเนินการเข้มงวดต่อเนื่องของผู้บริหารประเทศ ประกอบกับการเอาจริงเอาจังของภาคเอกชน ข้าราชการ และประชาชนทั่ว เชื่อว่าในอนาคตคอร์รัปชันก็ไม่มีเกิดขึ้นในประเทศไทย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คอร์รัปชั่นไทยลดหลังคสช.บริหารประเทศ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs