นายธนวรรธน์ พลวิชัย  ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เปิดเผยว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) ที่กำหนดในวันที่ 2 ก.พ. 57นี้ คาดว่าจะเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจากการจัดทำกิจกรรมของพรรคการเมืองรวมกันประมาณ40,000-50,000 ล้านบาทในกรณีที่ทุกพรรคเข้าร่วมการเลือกตั้งเนื่องจากจะทำให้บรรยากาศในการหาเสียงมีความคึกคักมากขึ้น และสามารถ ช่วยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าในระดับ0.3-0.4% “ปีนี้ไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้ภาคการบริโภคในประเทศชะลอตัวตามไปด้วยทั้งๆที่ประชาชนจำนวนมากยังมีเงินเก็บแต่ส่วนใหญ่ไม่กล้าใช้จ่ายเพราะไม่มั่นใจเศรษฐกิจในอนาคตและเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองดังนั้นเมื่อมีการเลือกตั้งของประเทศอย่างน้อยก็จะทำให้เม็ดเงินที่อยู่ในระบบและเงินใต้ดินลงไปถึงมือประชาชนในหลายๆรอบหมุนเวียนกันไปซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามตอนนี้หลายฝ่ายก็กำลังจับตาว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะคึกคักหรือไม่เพราะหากมีบางพรรคไม่ลงเลือกตั้งโดยต้องการให้ประเทศไทยมีการปฎิรูปก่อนทั้งการปฎิรูปการเมืองสังคม เศรษฐกิจ และการปราบปรามการคอร์รัปชั่นก็จะทำให้การเลือกตั้งไม่คึกคักและคาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ 20,000 ล้านบาทเพราะพรรคการเมืองใหญ่และกลางที่เหลืออยู่จัดกิจกรรมการหาเสียงที่น้อยลงส่วนธุรกิจที่จะได้รับอานิสงค์ในการเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดทำโปสเตอร์,สิ่งพิมพ์, การโฆษณา สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็ปไซต์,เสื้อผ้าสำหรับทีมงานในการหาเสียง, เครื่องดื่ม, รถยนต์และจักรยานยนต์ในการหาเสียง,เครื่องเสียง และ การจัดอีเวนต์ต่างๆ เป็นต้นนายธนวรรธน์ กล่าวว่าจากการประเมินผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าจะทำให้เศรษฐกิจมีความสูญเสียประมาณ20,000-30,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปประมาณกว่า100,000  คนต่อเดือนแต่ทุกฝ่ายแสดงความชื่นชมที่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกิดเหตุความรุนแรง“ตอนนี้ยังคงมองว่าเหตุชุมนุมโดยไม่มีเหตุรุนแรงอาจลากยาวถึงปลายปีโดยเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโต  3% และคาดว่าปีหน้าจะขยายตัว 4.5%  โดยคาดว่าปีหน้าภาคท่องเที่ยวจะเป็นตัวหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยส่วนเศรษฐกิจภาพรวมของไทยน่าจะดีในช่วงไตรมาสที่ 3-4  เพราะต้องรอนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะออกมาโดยเฉพาะเรื่องของการลงทุนนายธนิต  โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.) กล่าวว่า  หลังจากรัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภา อันมีผลทำให้สมาชิกส.ส.ทั้งหมดสิ้นสุดสมาชิกภาพ  ดังนั้นท่าทีของภาคเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าการยุบสภาน่าจะลดความกดดันทางการเมืองในช่วงนี้ได้ เนื่องจากการชุมนุมในวันที่ 9  ธ.ค. 56 มีประชาชนออกมาชุมนุมเป็นจำนวนมาก      สำหรับผลกระทบทางเศรษฐกิจพบว่ายุบสภาในครั้งนี้มีส่วนช่วยลดความตึงเครียดของภาคเศรษฐกิจอย่างน้อยก็รู้ทิศทางของการเมืองได้ในระดับหนึ่ง ในช่วงรอการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง ซึ่งเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนได้เองเพราะเศรษฐกิจจริงอยู่ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนรัฐบาลเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น  ส่วนการบริโภคภายใน  ในช่วงสิ้นปีซึ่งเป็นเทศกาลปีใหม่การบริโภคภายในอาจไม่ขยายตัวมากนัก เพราะสะท้อนจากตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำสุดในรอบ22 เดือน ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)คาดว่าในปี 56 การบริโภคจะสามารถขยายตัวได้เพียง 1.6%จากเดิมที่กำหนดไว้ 6.5% “ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 57 การบริโภคภายในน่าจะได้อานิสงส์จากค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวเข้าสู่การเลือกตั้งทั้งจากค่าใช้จ่ายด้านการหาเสียง รวมทั้งเงินนอกระบบอีกจำนวนหลายหมื่นล้านบาท  ที่จะเข้าถึงมือรากหญ้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการบริโภคภายในได้บ้าง”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คาดเงินสะพัดเลือกตั้ง5หมื่นล้านบาท

Posts related