นายชัชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการ รมว.คมนาคมเปิดเผยหลังประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.)การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อรับมือกับสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวว่าได้สั่งการให้ ทล.และ ทช.ทบทวนมาตรฐานการออกแบบถนนและสะพานให้เสร็จภายใน 6 เดือนโดยต้องรองรับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ไม่ต่ำกว่า 0.25จีหรือมากกว่านั้นตามความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ ตามมาตรฐานสากล(AASHTO) พร้อมกับให้จัดทำแผนพื้นที่เส้นทางหรือจุดเสี่ยงให้ได้ใน 2 เดือนโดยเฉพาะตามถนนและสะพานที่ก่อสร้างก่อนปี 49ที่ไม่มีการคำนวณเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหว“ถนนและสะพานที่สร้างตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมา มีการคำนวณเพื่อรับมือการเกิดแผ่นดินไหวไว้แล้วรวมทั้งสะพานขนาดใหญ่ก็ไม่มีปัญหา แต่ถนนที่สร้างหลังปี 49รวมถึงสะพานขนาดมาตรฐานทั่วไป ความยาว 10 -15เมตรเดิมไม่ได้ออกแบบรับมือแผ่นดินไหว จึงขอให้ ทล.และ ทช.ทบทวนแบบมาตรฐานรวมถึงมาตรการป้องกัน และจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น" นายชัชชาติกล่าวว่าจากการตรวจสอบสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือพบว่าสะพานที่อยู่ภายในรัศมี 50 กม.มี 218 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพปกติมีที่ได้รับความเสียหายเล็กน้อยบริเวณโครงสร้างส่วนบนและรอยต่อของสะพานส่วนโครงสร้างของสะพานไม่มีปัญหายกเว้นทางหลวงหมายเลข 118 มีการทรุดตัว 2 ช่วงจึงต้องทำทางเบี่ยงและซ่อมแซมถนนที่เสียหาย ซึ่งทล.จะมีการเสนอขออนุมัติงบกลางไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซมให้เสร็จโดยเร็วทั้งนี้ปัจจุบันสะพานขนาดใหญ่เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขง ที่เชียงของมีการออกแบบที่รองรับระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่ 0.25 จีหรือเทียบเท่ากับระดับความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวในปัจจุบันที่จังหวัดเชียงรายดังนั้น ทล.และทช.จะต้องสำรวจสะพานและถนนที่สร้างก่อนปี 49เพื่อให้ได้มาตรฐานนี้ด้วย ขณะที่การปรับปรับปรุงซ่อมแซมเสริมความแข็งแรงจะต้องรอการตั้งงบประมาณปี 58 ต่อไปส่วนการเตรียมพร้อมสำหรับทางด่วนในกรุงเทพ ของกทพ. นั้น มีความแข็งแรงไม่มีปัญหาแต่สั่งให้ทำแผนรองรับกรณีฉุกเฉินไว้ด้วยเพราะหากเกิดปัญหาจุดหนึ่งอาจกระทบต่อระบบทางด่วนทั้งหมด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จี้ปรับมาตรฐานถนน-สะพานรับมือแผ่นดินไหว

Posts related