นายวิบูลย์ ผณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้เสนอนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรม และชาวไร่อ้อยถึงแนวทางการสนับสนุนการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายให้สะท้อนราคาตลาดโลก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) หากเป็นไปได้ต้องการให้กำหนดนโยบายลอยตัวราคาในฤดูการผลิตปีนี้ทั้งนี้ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตาก.) เป็นราคาควบคุม ดังนั้นแนวทางการลอยตัวราคาสามารถกำหนดให้อิงกับราคาตลาดโลก หรืออิงราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออกที่บริหารโดยบริษัทอ้อย และน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) บวกกับราคาน้ำตาลทรายขาว โดยชาวไร่อ้อย ยังมีแหล่งทุน สำหรับดูแลราคาอ้อย กรณีต่ำกว่าต้นทุน ด้วยการเก็บเงินจากปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 1 บาท เฉลี่ยน้ำตาลที่ผลิตอยู่ที่ 10 ล้านตัน จะได้เงินประมาณหมื่นล้านบาท เข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาล หรืออีกแนวทางกรณีน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกเกิน 22 เซนต์ต่อปอนด์ก็หักข้ากองทุนฯ ซึ่งจะได้เงินจำนวนมากสะสมไว้ใช้“ ขณะนี้กองทุนอ้อยฯมีรายได้จากการขึ้นราคาน้ำตาลทราย 5 บาทต่อกก.หรือปีละ 12,000-13,000 ล้านบาท นำมาชำระหนี้ที่กู้จากธนคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.)ที่กู้มาเพิ่มค่าอ้อยที่ผานมา ผมคิดว่าถ้ามีแหล่งเงินการันตีว่าราคาอ้อยจะไม่ตกการลอยตัวราคาน้ำตาลจุดนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร”นายมนตรี คำพล ประธานสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 4 องค์กรชาวไร่อ้อยได้หารือกับโรงงาน ถึงประเด็นการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่โรงงานเสนอ เรื่องนี้เห็นว่า ประเด็นหลัก คือ กระทรวงพาณิชย์ควรเจรจาประเทศคู่ค้าอย่างอินโดนีเซีย ให้ลดกำแพงภาษีศุลกากรให้กับน้ำตาลไทย จากที่ปัจจุบันจัดเก็บกว่า 30% ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นไทยไม่ได้ประโยชน์อะไร ในการเข้าสู่เออีซี ดังนั้นการลอยตัวน้ำตาลในฤดูการผลิตนี้จึงไม่ควรแต่ฤดูการผลิตปี 58/59 น่าจะดำเนินการได้เพราะป็นช่วงจังหวะที่คาดว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกน่าจะดีขึ้นกว่านี้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงกระทรวงอุตสาหกรรมลอยตัวราคาน้ำตาลทราย

Posts related