นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เสนอผลศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินงานการสนับสนุนมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชนรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี มาให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาขยายมาตรการรถเมล์รถไฟฟรีต่อเนื่อง ไปจนถึงปลายปี 58 เพื่อรอจนกว่าจัดทำระบบการให้บริการอี-ทิคเก็ต หรือตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาจัดทำ1 ปีครึ่ง“ระหว่างการจัดทำระบบตั๋วร่วมยังไม่เสร็จ เราอาจจำเป็นต้องนำมาตรการดูแลค่าครองชีพเฉพาะหน้ามาใช้ คือการต่ออายุมาตรการรถไฟ และรถเมล์ฟรี ไปก่อนจนถึงสิ้นปี 58 ซึ่งกระทรวงจะต้องเสนอให้(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอนุมัติ เป็นครั้ง ๆ ไปครั้งต่อไปจะเสนอในช่วงเดือน ก.ค.ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มาตรการเดิมจะหมดอายุในวันที่ 31 ก.ค. 57 โดยขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) อยู่ระหว่างสรุปรายละเอียดอีกครั้ง”นายธีระพงษ์ กล่าวว่า มาตรการลดค่าครองชีพของประชาชนรถเมล์ฟรี รถไฟฟรีในระยะยาว หลังจากใช้ระบบตั๋วอี-ทิกเก็ต คาดว่าในกลางเดือนก.ค.นี้กระทรวงจะนำผลศึกษาให้ คสช.พิจารณามาตรการที่เหมาะสม 2 แนวทาง คือ ให้ยกเลิกมาตรการลดค่าครองชีพเดิม ทั้งหมดทั้งรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรีหรือใช้มาตรการเดิมแบบมีเงื่อนไขโดยให้ใช้ฟรีเฉพาะกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และพระภิกษุ ส่วนนักเรียน นิสิตและนักศึกษาให้ส่วนลด 50%อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันขสมก.จัดรถวิ่งให้บริการฟรี 800 คัน ครอบคลุมเพียง 85 เส้นทาง จากเส้นทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งหมด 221 เส้นทาง แบ่งเป็นรถ ขสมก. 116 เส้นทาง รถร่วมเอกชน 105 เส้นทาง ส่วนรถไฟฟรีจัดให้บริการครอบคลุมทุกเส้นทาง172 ขบวนต่อวัน ประกอบด้วยขบวนรถไฟเชิงสังคม 164 ขบวน และขบวนรถเชิงพาณิชย์ (รถเร็ว) รถไฟฟรีชั้น 3 จำนวน 8 ขบวนสำหรับผลดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพ รัฐบาลได้ดำเนินขยายเวลามาแล้ว12 ครั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 5 1 -30 ก.ย .56 พบว่ามีผู้ได้รับประโยชน์รวมทั้งสิ้น 897.05 ล้านคน แบ่งออกเป็นขสมก. 722 ล้านคน และร.ฟ.ท.175.05 ล้านคน และมีค่าใช้จ่ายสิ้นสุดระยะที่ 13 ณ วันที่ 3 1มี.ค. 57 รวมทั้งสิ้น 21,189.45 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ขสมก.15,533.84 ล้านบาท และร.ฟ.ท. 5,655.61 ล้านบาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงต่อรถไฟ-รถเมล์ฟรีอีก1 ปีครึ่ง

Posts related