นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตะนุกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) หลักสูตรความรู้เศรษฐกิจสู่ประชาคมอาเซียน เรื่องเจาะลึกได้เปรึยบ เสียเปรียบในข้อตกลงการค้าในอาเซียน จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า ขณะนี้ มีความต้องการให้รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ กำหนดและวางแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีข้างหน้า ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนา ซึ่งต้องตั้งเป้าหมายและทิศทางเพื่อให้เป็นเศรษฐกิจใหม่ ที่รวมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย เพื่อให้เศรษฐกิจใหม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน เบื้องต้นอาจดำเนินการในการวางแผน 2 ปี และสร้างรูปธรรมที่สามารถปฏิบัติได้ภายใน 5 ปี โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองจะต้องแก้ไขและทบทวนกฎหมายที่มีปัญหาในการค้าหรือการประกอบธุรกิจในระยะยาว ไม่ใช่แก้ไขปัญหาเดิมๆ เหมือนที่ผ่านมา “หากมีเศรษฐกิจใหม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และทุกฝ่ายเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะคล้ายกับการลงประชามติ ที่เปรียบเสมือนตอกเสาเข้มเศรษฐกิจให้มีความสอดคล้องในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้การเติบโตของประเทศดีขึ้น และเชื่อว่าปัญหาที่ผ่านมาจะไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิม ๆ ได้อีก ที่สำคัญ 4 ส่วนที่จะสนับสนุนแผนดังกล่าว ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ และกลุ่มเอ็นจีโอ จะต้องมีการหารือให้เกิดความเข้าใจตรงก้น” ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายได้พืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์น้ำมัน และอ้อย ถือเป็นแนวทางที่ดี แต่ภาครัฐต้องส่งเสริมในการพัฒนาลดต้นทุนการผลิต และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยต้องนำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะอนาคตวิทยาศาสตร์จะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมีความเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรใหม่ทั้งหมด เพราะในอนาคตไทยยังต้องพึงพิงรายได้จากสินค้าเกษตร แต่ขณะนี้ไทยมีอุปสรรค์ต่างๆ เช่น การทำข้อตกลงทางการค้าที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติ  มีความเห็นว่า ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่ล้นความต้องการของตลาด มาเป็นพืชที่ตลาดยังต้องการ ด้วยวิธีสนับสนุนปัจจัยการผลิต และช่วยเหลือราคาให้เกษตรกรอยู่ได้ แต่ไม่ควรอุดหนุนมากจนบิดเบือนกลไกตลาด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงรัฐบาลใหม่กำหนดแผนเศรษฐกิจ 20 ปี

Posts related