รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ช่วง 6 เดือนแรกปี 56 โดยสำรวจครัวเรือนตัวอย่าง 26,000 ครัวเรือน ทั่วประเทศ พบว่า ครัวเรือนหนี้สินมากถึง 54.4% โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 159,492 บาทต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน คือ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ใช้อุปโภคบริโภค และเป็นหนี้เพื่อใช้ในการศึกษา ขณะที่หนี้สินเพื่อใช้ในการลงทุนและอื่น ๆ นั้น พบว่า ส่วนมากเป็นหนี้ที่ใช้ทำการเกษตร และใช้ในธุรกิจ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาว่า แต่ละครัวเรือนมีหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบเท่าใดนั้น พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ โดยครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียวมีถึง 91.6% และครัวเรือนที่มีหนี้ทั้งในระบบ นอกระบบ 3.8% ส่วนครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียง 4.6% ขณะเดียวกันยังพบด้วยว่า จำนวนเงินเฉลี่ยของครัวเรือนที่เป็นหนี้ในระบบสูงกว่าหนี้นอกระบบสูงถึง 50 เท่า โดยหนี้สินในระบบมีอยู่ 156,356 บาท ส่วนหนี้นอกระบบมีอยู่ 3,136 บาท ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณารายได้ค่าใช้จ่าย และหนี้สินของครัวเรือนเป็นรายภาค พบว่า กทม. และ 3 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงกว่า ภาคอื่นมาก คือ 44,129 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงเช่นเดียวกัน คือ 33,095 บาท และ 283,560 บาท ตามลำดับ และมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ 75% นอกจากนี้ยังพบว่า ครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงสุดถึง 79.1% ซึ่งจะทำให้เกิดการออม หรือชำระหนี้ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับครัวเรือนในภาคเหนือที่มีสัดส่วนของค่าใช้จ่าย ต่อรายได้ต่ำสุด คือ 72% ทำให้เก็บออม และมีเงินชำระหนี้ได้มากกว่าภาคอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา ได้ลดลงจากปี 47 คือ 7 เท่า เป็น 5.8 เท่าในปี 54 แต่กลับเพิ่มขึ้นมากในปี 56 อาจมีเหตุผลมาจากหลายครัวเรือนได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยในปี 54 ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และผลผลิตทางการเกษตร จึงทำให้เกิดการก่อหนี้เพื่อฟื้นฟูความเสียหายดังกล่าว ทั้งนี้หากพิจารณาถึงด้านรายได้นั้น พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 25,403 บาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงาน 73.5% ได้แก่ ค่าจ้างและเงินเดือน กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจ และกำไรสุทธิจากการทำการเกษตรและมีรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน เช่น เงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นนอกครัวเรือน และรัฐ รายได้จากทรัพย์สิน เช่นดอกเบี้ย รวมทั้งยังมีรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินที่อยู่ในรูปสวัสดิการ สินค้า และบริการต่าง ๆ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชาวบ้านหนี้พุ่ง!! ครึ่งปี 56 ครัวเรือนละ 1.59 แสนบาท
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs