นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. 57 อยู่ที่ 70.7 เพิ่มจากเดือนเม.ย.ที่อยู่ระดับ 67.8 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารงาน และการเร่งจ่ายเงินโครงการรับจำนำข้าวให้แก่ชาวนา 92,000 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจำนวนมากทั้งนี้ หลังจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมาฟื้นตัวถือว่าเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยปัจจัยหลักที่จะช่วยผลักดันในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปีคือ นโยบายการลงทุนของรัฐบาล, การจับจ่ายเทศกาลฟุตบอลโลก และ นโยบายการช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจะมีเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 200,000 -300,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยผลักดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปีเพิ่มจากเดิมอีก 1.1.5%“หลังจากความชัดเจนทางการเมืองกลับมาดีขึ้นคาดว่าในครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจขยายตัวในระดับ 4-5% และตลอดทั้งปีน่าจะอยู่ในระดับ 2-3% จากเดิมที่หลายฝ่ายวิตกว่าอาจลดลงเหลือ 1-2% อย่างไรก็ตามทิศทางเศรษฐกิจไทยคงต้องดูเดือนมิ.ย.เป็นต้นไป โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลบอลโลกที่จะถึงนี้ จะเป็นตัวเช็คความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพราะหากมีการจับจ่ายใช้สอยคึกคักก็จะเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจไทย”สำหรับกรณีที่ คสช.มีการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซแอลพีจี และโครงการธงฟ้าต่อนั้น มองว่า เป็นเรื่องที่ควรทำในระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อดูแลภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ซึ่งจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค เนื่องจากทำให้มีความรู้สึกว่ามีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายไม่สูงขึ้น แต่หลังจากนี้ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และ คสช.จะต้องรักษาสมดุลของความเชื่อมั่นให้ดีขึ้น ซึ่งตามแผนโรดแมปด้านเศรษฐกิจทั้ง 10 ข้อของคสช.สามารถเคลื่อนได้เร็วก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไรก็ดี ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ทางหอการค้าไทยจะมีการปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากมีความชัดเจนในเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้วนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้หอการค้าไทยอยู่ระหว่างการพบปะพูดคุยกับหอการค้าต่างประเทศ เพื่อทำความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และคู่ค้าในประเทศต่างๆ เพื่อรวบรวมนำไปเสนอให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เบื้องต้นนักลงทุนต่างชาติเห็นว่า ควรปรับปรุงระบบศุลกากรส่งออกให้รวดเร็วและโปร่งใสมากขึ้น รวมทั้งเรื่องของการทำใบอนุญาตการทำงาน (เวิร์ค พอมิส) ต้องแยกออกจากกันระหว่างแรงงานชายแดนกับแรงงานที่เข้ามาลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้า การลงทุนระหว่างกัน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นในรอบ 14 เดือน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs