นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ การดำเนินการ เงินโอน แก้จน คนขยัน ถือเป็นมาตรการที่อยู่ในโรดแมปที่กระทรวงการคลังเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการภายใน 1 ปี ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คสช. จะเห็นชอบหรือไม่ รวมทั้ง จะนำข้อเสนอจากการสัมมนาวิชาการมาพิจารณาอีกครั้ง เพราะมีหลายเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อยุติทั้งนี้ ปัญหาที่ยังต้องสรุปให้ข้อยุติ คือ การตรวจสอบว่ามีรายได้น้อยจริงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้หน่วยงานที่จะเป็นคนรับเรื่องจะเป็นกรมสรรพากรตามที่ศึกษาไว้ได้หรือไม่ รวมทั้ง เรื่องที่ต้องตัดสินใจเพราะผู้ได้รับสิทธิโอนเงินบางส่วน ได้รับสวัสดิการจากภาครัฐอยู่แล้ว จะต้องพิจารณาว่าจะยกเลิกสิทธิที่เคยได้รับอยู่และมารับเงินโอน หรือ จะให้รับทั้งสองส่วนต่อไป“การโอนเงิน แก้จน คนขยัน จะให้กับผู้ที่มีอายุ 15-60 ปี มีรายได้เริ่มต้น แต่ไม่เกิน 30,000 บาท จะได้รับเงินโอนจากรัฐบาล 20% ของรายได้ แต่คนที่มีรายได้เกิน 30,000 บาท จะได้รับเงินโอนลดลง ไปจนถึงรายได้ 80,000 บาท จะไม่ได้รับเงินโอน คนที่ได้สิทธิต้องเข้ามาอยู่ในระบบภาษี จากการศึกษาของ สศค. จะมีคนได้รับเงินโอน 18 ล้านคน เป็นเงินงบประมาณปีละ 55,000 ล้านบาท”อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเงินโอน แก้จน คนขยัน จะต้องทำควบคู่ไปกับกฎหมายการเงินการคลัง ที่จะควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาล ไม่ให้ดำเนินการโครงการประชานิยมให้เป็นภาระกับงบประมาณจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา เพราะถือว่ารัฐได้จัดสวัสดิการให้แล้ว โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเสนอกฎหมายการเงินการคลังให้กับรัฐบาลพิจารณารายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมา สศค.พยายามพลักดัน เพราะมองว่าโครงการนี้สร้างผลดีต่อคนจนได้มากกว่าโครงการประชานิยมที่พบว่าในช่วงปี 52-57 รัฐบาลออกโครงการเชิงสวัสดิการและโครงการประชานิยมรวม  18 โครงการ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เบี้ยยังชีพคนชรา โครงการเรียนฟรี โครงการแท็บเล็ท โดยปี 57 ใช้งบประมาณกว่า 388,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 15%ของงบประมาณประจำปี 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดันมาตรการแจกเงินคนจน

Posts related