เมื่อช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ลุกมาตั้ง “ ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหา วิทยุและโทรทัศน์ที่ผิดกฎหมาย ” เพื่อมอนิเตอร์ช่องรายการทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชน ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ สำนักงานกสทช.จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งความหวัง ที่จะช่วยมอนิเตอร์ จับตา ผู้ที่กระทำความผิด และละเมิดตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช. ) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า ล่าสุดศูนย์มอนิเตอร์ได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ไป120 เว็บไซต์ เนื่องตรวจสอบเนื้อหาที่กระทำผิดและร้ายแรง ตอนนี้กสทช.มีอำนาจเต็มที่ จากปกติที่เมื่อพบเนื้อหากระทำผิดต้องส่งเรื่องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( สตช.) และอย.จึงจะขอหมายศาลเพื่อจับกุมได้ แต่ขณะนี้เมื่อพบ กสทช.สามารถขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้ทันที ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า กสทช. ทำเต็มที่ ศูนย์ตรวจสอบดังกล่าว ปกติจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ 7คน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้น เป็น 15 คน ในการมอนิเตอร์หลักคือ การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เนื้อหาที่หมิ่นประมาท ปลุกปั่น ยั่วยุ ร้ายแรง รวมถึงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต และได้ดำเนินการมอนิเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับกระบวนการตรวจสอบของกสทช. แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบโดยระบบซอฟต์แวร์ และขั้นตอนที่ 2 คือ การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำหน้าที่ มอนิเตอร์ สปอตโฆษณา และเนื้อหารายการ ซึ่งการมอนิเตอร์จะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ วินาทีต่อวินาที ใช้เทคโนโลยีเทียบเคียงเสียงเรียกว่าออดิโอ ฟิงเกอร์พริ้นต์ ( Audio Finger Print ) ส่งผลให้สามารถรายงานการออกอากาศโฆษณา เนื้อหาที่กำหนดให้ตรวจสอบ ออกอากาศที่ช่องใด รายการใด ช่วงเวลาใด จำนวนการออกอากาศเท่าไหร่ รวมถึงจัดเก็บเนื้อหาโฆษณา เนื้อหารายการ ไฟล์เสียงออกอากาศย้อนหลังได้ ทั้งนี้ระบบจะเก็บฐานข้อมูลโฆษณา (ดาต้าเบส) ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ เป็นเวลานาน 2 เดือน เบื้องต้นสามารถตรวจสอบได้ครอบคลุม 40 ช่องรายการ สำหรับฟรีทีวี ดาวเทียม และเคเบิล ส่วนอีก 40 ช่อง จะตรวจสอบรายการของสถานีวิทยุชุมชนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กสทช. 6,000 แห่ง และไม่ได้ลงทะเบียนกับ กสทช. อีก 2,000 แห่ง และในอนาคตจะเพิ่มขีดความสามารถได้ประมาณ 200 ช่อง ในขณะเดียวกันยังรวมมอนิเตอร์เนื้อหาของอินเทอร์เน็ตอีกทางหนึ่งด้วย และในปี2558 เตรียมจะขยายการมอนิเตอร์ให้ได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งประสานให้กสทช.ภูมิภาค นำรถวิ่งตรวจสอบอีกช่องทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีช่องรายการทีวีดาวเทียมที่ถูกระงับไม่ให้ออกอากาศทั้งหมด 14 ช่องรายการภายใต้คำสั่ง คสช. คือ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มวี 5 สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมดีเอ็นเอ็น สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเชียอัพเดท สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีแอนด์พี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมโฟร์แชนแนล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูกาย สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอฟเอ็มทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวี สถานีดาวเทียมฮอตทีวี สถานีโทรทัศน์ว๊อยซ์ทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเร็สคิ้ว และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูประเทศ (คปท.) นอกจากนี้ยังรวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต เห็นได้ว่า ศูนย์ตรวจสอบดังกล่าว สามารถช่วยจำกัดเนื้อหาที่รุนแรงไม่ให้ขยายไปวงกว้างได้มากทีเดียว สุรัสวดี สิทธิยศ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดูการทำงานศูนย์ตรวจสอบเนื้อหา กสทช.
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs