นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า เตรียมขออนุมัติที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ทำหน้าที่กำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรถไฟฟ้า รถไฟ ทางด่วน รถเมล์ และทางน้ำ เข้าด้วยกัน โดยจะกำหนดการคิดอัตราค่าโดยสาร หรืออัตราแรกเข้า และอัตราค่าบริการ ที่จะต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบขนส่งอื่น ๆ และขณะนี้ได้ให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งทำเรื่องเสนอมายังกระทรวงคมนาคมภายในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะนำเสนอขออนุมัติจาก คสช. ต่อไปสำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการะดับชาตินั้น หากจะรอให้ยกร่างกฎหมายใหม่ ที่ สนข.ดำเนินการอยู่นั้น ต้องใช้เวลาอีกนาน จึงเสนอให้ใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่ 3 ทางเลือก คือ ยึดตามกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก ยึดตามกฎหมายของสำนักงานจัดระบบการจราจรทางบก หรือออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งแนวทางที่ 3มีความเป็นไปได้มากที่สุดนางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ จะมีแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลระดับกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ส่วนโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง สำหรับระบบตั๋วร่วม คือ กลุ่มบีเอสวี ที่มีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นแกนนำเป็นผู้วางระบบ ในช่วงแรกที่ยังไม่มีบริษัทเข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปแต่งตั้งหน่วยธุรกิจเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ก่อน และจากนั้นค่อยไปพิจารณาการจัดตั้งบริษัทจำกัด ที่จะเข้ามาบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ซึ่งจะต้องตั้งโดยพิจารณาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือจัดตั้งเป็นบริษัทโดยรัฐถือหุ้นไม่เกิน 50%ส่วนที่มีการว่าจ้างเอกชนเข้ามาวางระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับระบบตั๋วร่วมนั้น จะใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 30 เดือน พร้อมกับได้สั่งการให้ไปพิจารณาแผนวางระบบให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง –ท่าพระ ที่จะเสร็จในปี 58 – 59ด้านนายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. กล่าวว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ โดยยึดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด ส่วนกลุ่มบีเอสวี ที่จะเข้ามาวางระบบระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง คาดว่าจะเข้ามาดำเนินงานตั้งแต่ ต.ค. 57 ในช่วง 6 เดือนแรก เป็นการออกแบบตามร่างเงื่อนไขในทีโออาร์ ส่วนการจัดทำระบบจะแล้วเสร็จภายในต.ค. 58 จากนั้น จะใช้เวลา 6 เดือนในการทดสอบระบบการทำงาน และตั้งแต่ มี.ค.59 ระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้จะมีความพร้อมที่จะทดสอบเชื่อมกับระบบของโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินได้
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ตั้งคณะทำงานระดับชาติตั๋วร่วม
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs


